สรุปหนังสือ: Poor Charlie’s Almanack: The Wit and Wisdom of Charles T. Munger
Here's to Charlie Munger, the non-bullshit and complete investor.
Chapter 1: A Portrait of Charles T. Munger
· Charles Thomas Munger เกิดเมื่อ 1 มกราคม 1924 ที่เมือง Omaha ซึ่งช่วงวัยเด็ก มังเกอร์ก็เคยไปทำงานที่ร้านโชห่วยของปู่บัฟเฟต ชื่อร้าน Buffett and Son ซึ่งปู่เจ้าของร้านนั้นใช้พนักงานในร้านหนักมาก ทำงาน12 ชม. โดยไม่มีอาหารและช่วงพัก ซึ่งบัฟเฟตเองก็เคยมาช่วยงานที่ร้านเหมือนกัน สภาพการทำงานอย่างหนักหน่วงนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบพวกเขาทั่งคู่
· มังเกอร์เป็นเด็กฉลาดที่ชื่นชอบท้าทายความรู้แบบดั้งเดิม มังเกอร์อ่านหนังสือเยอะมากๆตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะพวก Biography โดยเฉพาะประวัติของ Benjamin Franklin ที่เขาซึมซับคำสอนมาเต็มที่
· ในปี 1930s เกิด The Great Depression ทำให้มังเกอร์พบกับคนโชคร้ายยากจนไม่มีที่อยู่อาศัยมากมาย แต่ครอบครัวมังเกอร์ไม่กระทบมากเพราะทุกๆคนช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ และเห็นการที่ครอบครัวเขาก็ได้เข้าช่วยหลายๆกิจการในเมือง
· ในปี 1941 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มังเกอร์จบ High school และไปเรียนคณิตศาสตร์ที่ University of Michigan เขาชอบวิชาคณิตศาสตร์เพราะมันได้ใช้ logic ต่างๆ และได้สมัครเรียน Physics ซึ่งเขาก็ประทับใจในพลังของ Physics ในการใช้แก้ปัญหาต่างๆ เขาเชื่อว่ามันเป้นทักษะที่ทำให้ช่วยแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตได้มากมาย
· แต่ไม่ทันเรียนจบ มังเกอร์ก็เข้าเกณฑ์ทหาร และส่งไปเรียน Thermodynamics และ Meterology ที่ CalTech จนสุดท้ายเขาออกจากกองทัพเมื่อปี 1946 และได้เข้าเรียนที่ Harvard Law School
· หลังเรียนจบ มังเกอร์ทำงานที่บริษัทกฏหมายในCalifornia แต่งงานและมีลูกสามคน
· แต่ชีวิตงานแต่งไม่ราบรื่น เขาหย่าภรรยาในปี 1953 และภายหลังก็เสียลูกชายคนหนึ่งไปจากโรคลิวคีเมีย และแต่งงานใหม่อีกครั้งในปี 1956
· งานกฏหมายนั้นไม่สามารถสร้างรายได้ที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากค่าตอบแทนมันขึ้นกับจำนวนชั่วโมงทำงานและความอาวุโส จึงมองหาหนทางใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ เริ่มลงทุนหุ้นธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า กับหนึ่งในลูกค้าบริษัทกฏหมายของเขา
· ปี 1961 เขาเริ่มเข้าทำงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งช่วยในการพัฒนาทักษะเจรจาและทำสัญญา ซึ่งเขาทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจอสังหานี้
· ปี 1962 ชาลีได้มีโอกาสกลับไป Omaha เพื่อจัดการอสังหาของพ่อเขาที่เพิ่งเสียชีวิตไป ในงาน Welcome Dinner ที่แถวระแวกเพื่อนบ้านจัดต้อนรับเขานั้น มีผู้ชายคนหนึ่งในงานก็คือ Warren Buffett
· ชาลีรู้จักนามสกุลบัฟเฟต ส่วนวอเรนนั้นเคยได้ยินชื่อชาลีมาเมื่อนาน ตอนที่เขากำลังหาเงินทุนใน Omaha - มีหมอครอบครัวคนหนึ่งชื่อ Dr.Davis ซึ่งบัฟเฟตเคยไปเล่าปรัชญาการลงทุนให้ฟัง หมอคนนั้นเชื่อวอเรนมากและยอมให้ดูแลเงินถึง 100,000$ ซึ่งหมอคนนั้นบอกว่า วอเร็นมีลักษณะเหมืนมังเกอร์ จึงทำให้วอเร็นสนใจพบชาลีตั้งแต่นั้นมา
· ในงานนั้นทั้งคู่ก็พูดคุยกันอย่างถูกคอ ตอนนี้นบัฟเฟตอายุ 29 ปี ส่วนชาลีอายุ 35 ชาลี (ในตอนนั้นอยู่ในสถานะที่ประสบความสำเร็จกว่ามาก ) ซึ่งเดิมนั้นวอเร็นจะเป็นคนที่พูดขาฉ,ดหลักแหลมที่สุด มีไหวพริบ รวดเร็ว แต่คืนนั้น คนอื่นๆที่ร่วมงานคิดว่าจะได้เห็นทั้งสองคนพูดจาแลกกันอย่างดุเดือด กลายเป็นว่าบัฟเฟตเงียบมาก และเป็นชาลีทีคอยนำการสนทนาตลอด
· บัฟเฟตชัดชวนชาลีให้มาทำงานร่วมกัน เพราะธุรกิจที่บัฟเฟตกำลังจะทำนี้มีศักยภาพเยอะกว่ามาก จึงทำให้ชาลีออกจากงานกฏหมายไวกว่าที่เขาวางแผนไว้ (ส่วนบริษัทที่เขาตั้ง Munger, Tolles & Olson ก็ยังดำเนินงานอยู่ และมีบทบาทช่วยเกี่ยวกับการลงทุนและซื้อกิจการของบัฟเฟตมามากมาย)
· Benjamin Franklin สร้างอิสรทางการเงินและนำมันไปปรับคุณภาพสังคมให้ดีขึ้น ชาลีเองชื่นชมลักษระนิสัยนี้มาก และต้องการตามรอยนี้เช่นกัน
Chapter 2: The Munger Approach to Life, Learning, and Decision Making
Chapter 3: Mungerisms: Charlie Unscript
· ในบทนี้จะเป็นการรวบรวมงานเขียนและSpeech ของชาลีในที่ต่างๆ รวมไปถึงจากงานประชุม Berkshire และ Wesco annual meeting ในระยะเวลา 5 ปี (2000-2005) จัดเรียงตามหัวข้อต่างๆ
Keys to Our Success
· 1. เราพยายามทำกำไรจากสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายๆ แทนจะไปสู้รบปรบมือกับสิ่งที่เข้าใจยากๆ ซึ่งถ้ามองในระยะยาว คนแบบเราจะได้เปรียบกว่ามาก แค่พยายามไม่โง่ มากกว่าจะพยายามฉลาดมากเกินไป (It is Remarkable how much long term advantage people like us have gotten by trying to be consistently not stupid, instead of trying to be very intelligent)
· 2. เราไม่เคยอวดอ้างว่าเป็นคนดี100% แต่เราจะไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ แม้ว่ามันจะถูกกฏหมาย เหมือนวัฒนธรรมในอเมริกาที่บอกว่าอะไรก็ตามที่ทำแล้วจะไม่ติดคุก มันโอเค (We don't claim to have perfect morals, but at least we have a huge area of things that, while legal, are beneath us. We won't do them) เราเชื่อว่ามันมีพื้นที่มากมายกั้นอยู่ ระหว่างขอบเขตของ สิ่งที่เราทำได้ กับ สิ่งที่เราพอทำได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
Comments on Berkshire Hathaway
· 1. Berkshire Is a Hell of A Business : เรามีเคล็ดลับธุรกิจที่โคตรดีอันหนึ่ง คือเราสามารถสร้าง Float ( เงินสดจากค่าธรรเนียมประกันภัยที่ BRK เอาไปลงทุนก่อนที่จะมีการ claim ประกัน) ซึ่งคิดเป็น cost of capital 3% และเอาไปลงทุนในธุรกิจที่ให้ผลตอบแทน 13% (หรือมากกว่า) แม้ภายภาคหน้า BRK จะทำผลตอบแทนทบต้นไม่ได้ดีเท่าช่วงแรกๆ แต่ผู้ถือหุ้นมั่นใจได้ว่าเรายังมีโคตรธุรกิจอยู่กับตัว
· 2. Berkshire’s Past Returns : ถ้าเราใช้ leverage ประมาณครึ่งหนึ่งของทุกๆธุรกรรมที่ผ่านมา ป่านนี้ BRK คงมีขนาดใหญ่กว่านี้ 5 เท่า
· 3. Berkshire’s Future Outlook : ทั่วๆไปแล้วเราไม่ควรคาดหวังกับผลตอบแทนมากจนเกินไป รวมถึงกรณีคนที่จะมาลงทุนใน BRK ด้วย แต่ model ธุกิจเรายังดี และเราน่าจะทำผลงานได้ดีต่อเนื่อง อนาคตนั้นจะยากขึ้นด้วย 2 เหตุหลัง คือ 1. ขนาดเราใหญ่มาก มันจำกัดโอกาสการลงทุนไปเยอะ 2. ตลาดหุ้นสมัยนี้มองไปข้างหน้ายาวมากๆ บรรยากาศต่างจากสมัยเมื่อ 15-20 ปีก่อน แต่นี่ไม่ใช่โศกนาฏกรรม ทเรายังสะสมเงินสดได้มากขึ้นทุกๆปี เรามีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นสูง และแม้เราใหญ่ไปที่จะเข้าซื้อหุ้นบริษัทเล็กๆ แต่เราก็มีข้อได้เปรียบคือเข้าซื้อทั้งกิจการที่ได้รับข้อเสนอได้เลย – ผลตอบแทนในอนาคตของเราจะไม่สวยหรูเท่าในอดีต ดังเช่นบริษัทใหญ่ๆทั่วๆไป ความแตกต่างอย่างเดียวคือ เราพูดความจริง
· 4.Berkshire Hathaway’s Culture วัฒธรรมของเรามันโบราณมากๆ เช่นเดียวกับบริษัทต่างๆมี่เราไปซื้อมา ผู้ถือหุ้นเราหลายๆคนมีหุ้นเราเป็นทรัพสินหนึ่งเดียว เราตระหนักดี ความ conservative จึงติดแน่นมาก
· 5. Berkshire’s and Wesco’s Stock price : เราชอบเห็นราคาหุ้นซื้อชายในราคาต่ำกว่า Intrinsic Value ถ้าราคามันทำหน้า เราจะพยายามตบๆมันลงมาหน่อย ซึ่งต่างจากบริษัทหลายๆแห่งที่ชอบเห็นหุ้นขึ้นเยอะๆ
· 6. Berkshire Shareholders : เราพอใจกับผู้ถือหุ้นในปัจจุบันนี้และไม่ได้ต้องการชักชวนใครมาเพิ่ม
· 7. Berkshire’s Acquisition strategy: เราจะไม่พยายามไปขอซื้อกิจการตลอดเวลา เราจะรอให้โอกาสดีๆมาถึง และเสาะหาโอกาสนั้นๆ เราซื้อกิจการปีละไม่เกิน 2 แห่ง มาตลอดช่วงยี่สิบปีนี้ ธุรกิจที่เราซื้อมักมีเจ้าของที่เราชื่นชอบ และมี passion กับงานมากๆ ซึ่งชาลีคิดว่ามันสำคัญกว่าพลังสมอง
· 8. Managing Subsidiaries : เราเลือกซื้อกิจการดีๆ ที่มีเจ้าของที่เราชื่นชอบ และปล่อยให้เขาทำงานอย่างเต็มที่เหมือนเดิม เราใช้ decentralized power
· 9. Synergies : เรามักหลีกเลี่ยงจะใช้คำว่า “Synergy” เพราะคนชอบบอกว่ามันจะสร้างประโยชน์ต่างๆมากมายเกินจริงไปมาก synergy มีอยู่จริงแต่หลายๆครั้งมันก็ไม่ได้สร้างประโยชน์มากมายขนาดนั้น (False promise) – BRK เราก็เป็ฯองค์กรที่เต็มไปด้วย Synergy แต่เราจะไม่พยายาม Claim มัน (Berkshire is full of synergies - we don't avoid synergies, just claims of synergies.)
· 10. Making the Right personnel Decisions : เราไล่คนออกไปน้อยมาก เทียบกับริษัทอื่นๆ เราจะไม่มองย้อนกลับไปแล้วพูดว่าเราน่าจะไล่คนนั้นคนนี้ออกตั้งนานแล้ว
· 11. Berkshire’s Insurance Operations: สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราได้เปรียบในอุตสาหกรรมนื้อผู้คนเชื่อถือเราและคิดว่าเราจ่ายเงินประกันได้แน่ๆ มันเป็นธุรกิจที่เราโชคดีที่มีมัน แต่ก็ไม่ได้ง่าย รวมแล้วๆชาลีคิดว่าธุรกิจประกันของBRKนั้นอยู่ใน top 10% - เขาแปลกใจทุกครั้งกับการเติบโตและต้นทุนของ Float ที่ถูกเสียกว่าพันธบัตรรัฐบาล อีกข้อได้เปรียบคือเราไม่สนใจว่าธุรกิจจะทำเงินได้แย่ลงหากตลาดอยู่ในช่วงไม่เป็นใจ (ต่างกับหลายๆบริษัทที่ต้องสนใจตลาดหุ้นด้วย)
· 12. Berkshire Repurchasing Shares: ช่วงที่ผ่านมาแม้หุ้น BRK จะราคาถูกแล้ว แต่เราก็เจอหุ้นที่ถกกว่ามากมาย ซึ่งเขาชอบแบบนี้มากกว่า
· 13. Why don’t more companies and Investor copy BRK : วิถีของเรามันไม่ยาก แต่มันไม่conventional เรามี low overhead, ไม่ตั้งเป้ารายไตรมาส ไม่มีระบบบุคลากรตามมาตรฐาน การลงทุนเราก็ concentrate กว่าทั่วไป
Comments on Buffett
· 1. Charlies’s Influence on Warren : เขามองว่าสื่อให้credit เขามากเกินไป บัฟเฟตนั้นฉลาดหลักแหลมมากอยู่แล้ว แม้ไม่มีมังเกอร์ บัฟเฟตก็คงทำผลงานได้ยอดเยี่ยมดังเดิม
· 2. What Happens When Buffett’s Gone: เรายังมีธุรกิจและโมเมนตัมที่ดี แต่ผู้สืบทอดไม่น่าจะเก่งเรื่อง capital allocation (โดยเฉพาะเรื่องซื้อกิจการ) ได้ดีเท่า Buffett แต่บริษัทเราก็น่าจะยังไปได้สวย ซึ่งจริงๆถ้าจะมีใครกังวลเรื่องนี้สุด ก็น่าจะเป็นมังเกอร์นี่แหละ แต่เชื่อถือว่ามันไม่มีอะไรน่ากังวล
· 3. What if Charlie Dies? : ในประเด็นนี้ เรากำลังหาวิธีเป็นอมตะอยู่!
Investment Advice
· 1. The Importance of Temperament, Patience, and Curiosity : หนึ่งในปัจจัยการลงทุนจะสำเร็จนั้น คือต้องมีพื้นอารมณ์(Temperament) ที่ถูกต้อง คนส่วนใหญ่ขี้กลัว กังวลมากไป อารมณ์ที่ถูกนั้นควรจะเป็น ความอดทนอดกลั้นระดับสูง และ aggressive เมื่อถือเวลาต้องทำ แต่พื้นอารมณ์ที่เหมาะสมนั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด คุณต้องมีความอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา และเป็นระยะเวลานาน
· 2. Focus Investing : วิธีการลงทุนเรานั้นเป็นแบบ Focus Investing เช่น ถือลงทุนเน้นๆสิบตัว ไม่ใช่หนึ่งร้อย หรือสี่ร้อยตัว – มันตั้งอยู่ในไอเดียที่ว่า การลงทุนดีๆนั้นหายาก จึงเน้นๆไปที่บางตัวดีกว่า - หา Big Idea ให้ได้ และเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมกับโอกาสเมื่อมันมาถึง (Waiting for a fat Pitch) - ที่น่าตลกคือหลายๆคนไม่เชื่อ พวกเขาจ้างคนมามากมาย วิเคราะห์หุ้นทุกตัวใน S&P 500 อย่างละเอียด และคิดว่าจะเอาชนะตลาดได้ แต่มันก็ไม่
· 3. Misteaching Investing : Beta และ Modern Portfolio Theory และทฤษฎีต่างๆเทือกนั้น ไม่make sense เลยสำหรับมังเจอร์ มันเหลือเชื่อมากที่เหล่าศาสตรจารย์เชื่อว่าความผันผวนของราคาหุ้นคือความเสี่ยง
· 4. Diversification : Idea ที่แนะนำให้ทำ Diversification เยอะๆ มันคือความบ้าคลั่ง เราเชื่อว่าการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดี จะมี low diversification ถ้าคุณไม่เอาการลงทุนที่ดีที่สุด 15 อันดับแรกของเรามาคิด สถิติการลงทุนเราจะตามค่าเฉลี่ย ดังนั้นการทำนู่นทำนี่เยอะๆไม่ใช่เรื่องที่ถูก มันคือความอดทนอยู่กับหลักการ เมื่อโอกาสมา ก็จัดมันให้สุด
· 5. Sit-on-Your-Ass Investing : ถ้าคุณซื้อมันเพราะ undervalue แสดงว่าคุณอาจต้องคิดว่าจะขายมันเมื่อราคาเข้าใกล้ intrinsic value ซึ่งมันเป็นการตัดสินที่ยาก ถ้าคุณซื้อบริษัทดีๆไม่กี่แห่ง คุณสามารถนั่งเฉยๆไม่ต้องทำอะไรมาก มันดีกว่าเยอะ
· 6. What is a Better Business? : มีธุรกิจสองประเภท ประเภทแรกมีกำไร 12% คุณสามารถเอากำไรออกมาใช้ได้ในท้ายปี ประเภทสองกำไร 12% แต่เงินเส่วนเกินนั้นต้องเอามา reinvest ผลคือไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งแบบหลังนี้เราไม่ชอบ
· 7. See’s Candy: Case Study of a Better Business: : ถ้าตอนนั้น See Candie ขอให้เราเพิ่มเงินอีก 100,000$ แล้วจะยอมขายกิจการให้ เราคงเดินหนีออกมา (ซึ่งมันจะกลายเป็ฯเรื่องที่โง่ๆมาก) โชคดีที่ที่ปรึกษาในบริษัทเราเตือนเราว่ามันบ้ามาก เพราะบางทีเราก็ต้องยอมจ่ายบ้าง เพื่อธุรกิจและคนคุณภาพ เราฟังคำแนะนำและเปลี่ยนใจ ซึ่งเป็นบทเรียนที่ดีมากๆ
· 8. Mistakes : ความผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติบริษัทคือ Mistake of Omission , เราเห็นโอกาส แต่ไม่ทำอะไร – ความผิดพลาดมีสองแบบ 1. ไม่ทำอะไรเมื่อโอกาสมา 2. ซื้อมันน้อยมากๆ ทั้งๆที่เรามันมั่นใจ - เราเกือบพลาดไม่ยอมซื้อ See Candie แต่หลายๆครั้งเราก็พลาดจริงๆ และแม้มันจะไม่ได้โชในงบการเงิน แต่มันก็ทำให้เราขาดทุนหลายพันล้าน (อ้างถึงเหตุกาณ์ที่ไม่ซื้อหถุ้น wal-mart หลังจากที่หุ้นมันขึ้นไปเล็กน้อย – 10 billion mistake)
· 9. Buying into Stock Declines : ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ถ้าหุ้นที่เราชอบมันราคาตก เราจะซื้อมันเพิ่มอีกเรื่อยๆ มันมีบางครั้งที่ตกมาแล้วกู่ไม่กลับ เมื่อเรารู้ตัวเราก็รีบออกมา แต่ถ้าคุณได้พัฒนาความั่นใจใน Judgement ที่ถูกต้องแล้ว ก็จงซื้อเมื่อหุ้นตกและคุณได้เปรียบ - โอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ มันมาแค่ช่วงเวลาสั้นๆ (Ephemeral) คุณต้องพร้อมลงมือทำตามแผน เตรียมใจให้พร้อม!
· 10. Opportunies for small investors : หากคุณมีเงินทุนน้อยและยังอายุน้อย โอกาสนั้นมันน้อยกว่าตอนชาลียังเด็กๆ ในสมัยนั้นมันพึ่งสิ้นสุด depression - ทุนนิยมคือคำหยาบ หุ้นเป็นวิธีเสียเงิน – มันยากกว่าแต่ไม่ได้หมาความว่าคุณจะไม่ได้ผลตอบแทนที่ดี มันแค่อาขจต้องใช้เวลามากขึ้น
· 11. Learning Process : เขายังไม่เคยเจอนักลงทุนคนไหนจะยิ่งใหญ่ได้ในเวลาสั้นๆ ในเกมนี้คุณต้องพัมฯตัวเองตลอดเวลา บัฟเฟตเองก็พัฒนาตัวขึ้นเรื่อยๆมาเสมอ เพื่อขยาย Circle of Competence ต่อเนื่อง – บางทีคุณอาจต้องลงทุนโดยไม่ได้มีประสบการณ์ครบถ้วน แต่ถ้าคุณพัฒนาตัวเองไปตลอด คุณอาจจะเจอการลงทุนที่คุณมั่นใจว่าผลมันจะดีแน่ๆ key คือวินัย ขยัน อดทน
· 12. Circle of Competence and Its Boundaries: ในการตัดสินใจลงทุน เราจะมีตระกล้าสามใบ คือ เอา ไม่เอา และยากไป (Too Tough) - ถ้าเราไม่เข้าใจมัน เราก็โยนมันไปในตระกร้าใบที่สาม สิ่งที่คุณต้องหาให้เจอคือโอกาสที่มาใน Circle of competency และคุณต้องมั่นใจว่าคุณรู้ชอบเชต circle นี้ดีพอ
· 13. Cost of Capital and Opportunity Costs : เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า cost of capital ของเราเป็นเท่าไหร่ และไม่เคยเห็นการคำนวณ Cost of Capital ที่ make sense จริงๆ – ถ้าคุณดูใน textbook economics ของ Mankiw ผู้เขียนบอกว่าคนฉลาดจะเลือกตัดสินใจ based on opportunity costs – ซึ่งเราก็ตัดสินใจแบบนั้นเป็นหลัก คือวัดว่าตัวเลือกทั้งหมดของเราเป็นอย่างไร - เอาหละ ต้นทุนเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา นั่นหมายรวมถึง opportunity cost ด้วย และแน่นอนว่า เงินทุนไม่ได้ได้มาฟรีๆ แต่คุณก็รู้นี่ เช่น เงินกู้นั้นมีต้นทุนเท่าไหร่ แต่นักวิชาการเล่นใหญ่จนเพี้ยนไป จนได้ cost of capital หรือ cost of equity capital ออกมา
· 14. Value of Forecasts : ผู้คนมีความอยากลึกๆ ที่จะให้มีใครมาทำนายอนาคตให้ มันมีตลาดทำมาหากินให้คนที่ทำตัวเหมือนรู้อนาคต มานมนานแล้ว – การมานั่งฟังพยากรณ์ตลาดทุนจึงเป็นเรื่องบ้าบอ
· 15. IPOs : แต่ละปีมีหุ้น IPO นับไม่ถ้วน มันอาจมีหุ้น IPO ดีๆก็ได้ แต่มันเล็กเกินไปสำหรับเรา หรือถ้ามันเป็นหุ้น high tech เราก็จะไม่เข้าใจ
Comments on the Market
· 1. Stocks, Rembrands, and Bubbles: หุ้นถูก Value ส่วนหนึ่งคล้าย bond คือ ให้ value ว่ามันจะ produce future cash ได้เท่าไหร่ และอีกส่วนหนึ่งคล้าบรูปวาด คือราคามันสูงขึ้น เพราะราคาก่อนหน้ามันสูง
· 2. Future market returns: ณ ตอนนี้ (พย 2000) ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 15% แบบทบต้น ซึ่งมันสูงเกินไป และน่าจะตกมาบ้าง แต่ถ้าเขาคิดผิด มันก็คงไม่ใช้ด้วยเหตุผลที่ดี คนจะมองหุ้นเป็นเหมือนภาพงานศิลปะมากขึ้นเรื่อยๆ ขั้นแบบไม่มีอะไรมาฉุด ซึ่งคงไม่มีใครทำนายได้ว่ามันจะปไกลไปสูงและคงอยู่นานแค่ไหร
· 3. Current Outlook : ในปี 2004 นี้ บรรยากาศทั่วไปไม่ได้ดีนัก หุ้นสามัญแม้ไม่ได้อยู่ในระดับน่าซื้อมาก ซึ่งเงินสดที่เราเก็บไว้ก็บอกมันทุกอย่าง ถ้าเรามีไอเดียดีๆ มันคงไม่เหลือเยอะเช่นนี้
· 4. Macro statistics : ชาลีไมใช้สถิติทาง Macroecomic มาเพื่อเข้าใจแนวโน้มธุรกิจชนาดนั้น สิ่งที่เขาทำคือ คอยดูทิศทางว่าบริษัทลูกทำได้ดีไหม และอ่านหนังสือพิม อ่านนิตยสาร เน้นข้อมูลด้าน micro level ซึ่งจากระดับ micro นี้เองก็จะบอกได้มากแล้วว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างใน macro level
Critique on Corporate Management
· 1. Earnings Manipulation and Accounting Shenanigans : มีเม็ดเงินมากมายเกี่ยวข้องในรายการงบการเงิน และมันเป็นธรรมชาติของมุนษย์ที่จะไปmanipulateมัน และเมื่อมีคนทำมันเยอะ ใครๆก็เลยทำกัน (Serpico effect)
Critique of the money management business
· 1. Stockbrokers vs. Index funds: ผมคิดว่า indexing เป็นตัวเลือกที่ฉลาดกว่าสำหรับนักลงทุนทั่วๆไป มันคงไม่workไปตลอดถ้าทุกคนหันมาใช้วิธีนี้ แต่ก็น่าจะอีกนาน
· 2. The Mutual fund Scandal: ธุรกิจในการเลือกผู้ขัดการกองทุนนั้นยากขึ้นไปอีก เมื่อมีการออกแฉว่าผู้จัดการหลายคนนั้นได้รับสินบน ซึ่งเป็นการทรยศผู้ถือส่วนลงทุนอย่างมาก
Critique of Wall Street
· 1. Wall Street’s Lack of Ethics: Wallstreet ไม่เคยเป็นที่สำคัญ Ethics ที่ดี วัฒนธรรมการลงทุนเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ มันกลายเป็นว่าอะไรก็ตามที่ขายได้กำไร จะพร้อมจะถูกขาย โดยไม่สนใจอะไรเลย
Critique of Accountants
· 1. Demise of Ethics Among the Major Accounting Firms : ตอนที่เขายังเด็ก บริษัทบัญชีใหญ่ๆนั้นเป็นสถานที่แห่งศีลธรรม ไม่มีใครร่ำรวยแบบน่าเกลียด ต่างจากสมัยนี้ที่ทั้ง law firm และ accounting firm เข้าหาสธุรกิจสีเทา (เช่น ธุรกิจหลบเลี่ยงภาษี)
· 2. Aggressive Accounting : Aggressive accounting และ Creative accounting เป็นสอ่งที่อันตรายมากๆ การใช้บัญชีเพื่อจะหลอกหลวงนั้นเป็นเรื่องร้ายกาจ เราขอวิธีแบบอนุรักนิยมดีกว่า เพราะมันช่วยในการตัดสินและปกป้องบริษัทได้
· 3. Misuse of EBITDA : เขาคิดว่าเมื่อไหร่ที่เห็นคำว่า EBITDA นี้ คุณควรจะแทนมันด้วยคำว่า “Bullshit Earnings”
Critique of Stock Options
· 1. Stock options as Compensation: Stock option มีแต่จะทำให้เกิดพฤติกรรมแย่ๆ การให้ stock option อาจให้รางวัลคนที่ไม่ทำอะไรเลยก็ได้ – หมออายุ 60 ทีโรงพยาบาล หรือทนายอายุ 60 กว่าๆ จะขยันขึ้นไหมหลังได้ option?
· 2. Accounting for Stock option: เมื่อไหร่ก็ตามที่คนมีชื่อเสียงบอกว่า option ไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายนั้น เขาแทบไม่เชื่อหูตัวเอง stock option เป็นทั้ง Expense และ Dilution ดังัน้นพวกสว.ที่ยังโหวตให้ Stock option ไม่เป็นค่าใช้จ่าย คือพวกโง่งมและไร้เกียรติ รู้ทั่วรู้ว่าผิด แต่ก็ยังจะทำ
Warnings about Financial Institutions and Derivatives
· 1. Risks of Financial Institutions : ธรรมชาติชองสถาบันการเงินคอ มีวิธีมกมายจะลงนรก เช่น ให้เครดิตมากไป เข้าซื้อกิจการแบบไม่ฉลาด leverage เยอะไป และ Derivative - เราเป็นพวก sensitive กับ Financial risk มากๆ ถ้าพวกเขาบอกว่าจะทำผลงานให้ได้ดีๆ เราจะรู้สึกประหม่าทุกครั้ง ถ้าเป็นสถาบันการเงินที่ใช้ leverage เยอะๆ แล้วบอกว่าตัวเองจัดการ risk ได้ดี ก็ยิ่งน่ากลัว
· 2. Derivatives : ระบบ Derivative มันซับซ้อนมากๆ มีเม็ดเงินหลายล้านๆมาเกี่ยวข้อง มีผลประโยชน์ต่างๆมากมาย ผู้คนใช้มันแบบไม่คิดถึงผลที่ตามมาใดๆ ระบบบัญชีของ derivative นั้นก็ซับซ้อนยุ่งยามากๆ ถ้าไปถามสถาบันการเงินใหญ่ๆที่มี exposure กับ derivative มากๆ ว่าพวกเขาเข้าใจ Derivative book ของตัวเองไหม? ถ้ามีใครบอกว่าเข้าใจ โอกาสคือคนๆนั้นบ้า ไม่ก็กำลังโกหก - ไม่มีใครสนใจว่าได้สร้างระบบที่จะนำความเสียหายนี้ ในทางวิศกรรม เราสนใจเรื่อง margin of safety มากๆ แต่ในโลกการเงิน ผู้คนดูไม่ give a damn เลย มีแต่ปล่อยให้บอลลูนขยายขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ เขาว่างว่าเรื่องนี้จะเจ็บหนักกว่ามี่วอเรนคิด
· 3. Accounting for Derivatives: มันเละเทะมาก นักบัญชีย่อหย่อนมาตรฐาน สร้าง derivative พิศดาร เพื่อให้ earning ออกมาสวยงาม แต่ไม่เคยมีอยู่จริง การทำบัญชีเพื่อderivative มันจึงเป็ฯสิ่งที่น่าขยะแขยงมาก ยังกับท่อน้ำเสีย ถ้าเขาถูกต้อง วงการนี้จะจบไม่สวยแน่นอน
· 4. Likelihood of a Derivative Blowup: เราพยายามขายส่วนderivative ของ Gen Re ออกไป ซึ่งมันไม่สำเร็จ เราจึง liquidate มัน และตั้งสำรองไปเยอะมาก และเชื่อว่า derivative book ของแบงค์ใหย่ๆก็ไม่สามารถ liquidate ได้มูลค่าที่เขียนไว้ในบัญชีเช่นกัน เขาไม่รู้ว่าหายนะจะเกิดเมื่อไหร่ แต่ผลมันจะน่ากลัวมากแน่ๆ
Mental Models
· 1. The Importance of Multiple Mental Models : คุณต้องรู้ Big Idea ในหลายๆสหสาขา (Big disciplines) หลายๆคนนั้นถูกสอนมาให้ชำนาญแค่เรื่องเดียว (One Model) และจะพยายามแก้ปัญหาทุกอย่างด้วยสิ่งเดียวนั้น – มันมีคำโบราณที่ว่า สำหรับชายที่ถือค้อน โลกใบนี้ก็คือตะปู (To the man with a hammer, the world look like a nail.) มันเป็นการแก้ปัญหาแบบโง่ๆ
o คุณต้องมี checklist มี mental model ที่แตกต่างออกไป ในการแก้ปัญหาแต่ละบริษัท ตัวเขาเองไม่สามารถพูดง่ายๆว่า “Here are three things” คุณต้องสร้างมันขึ้นมาเอง ฝังมันลงในหัวจนชั่วชีวิต
o คุณไม่สามารถยัด 100 big idea ลงในหัว แบบที่นักเรียนชอบทำกัน เพื่อจะได้พ่นมากลับใส่อาจารย์ให้ได้เกรดงามๆ ซึ่งสุดท้ายก็จะลืมจนสิ้น - ถ้านี่เป็นวิธีที่คุณใช้เรียนรู้ คุณก็จะกลายเป็น Loser ในเ Game of Life คุณต้องเรียนรู้ Big model โดยคิดเสมอว่าจะต้องทำมันมาปรับใช้ ใช้ซ้ำในชีวิตคุณ
o มันมีไม่กฏอะไรบอกว่า ถ้าแก่ๆแล้ว จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆไม่ได้ ตัวเขาเองก็ได้เรียนรู้อะไรดีๆช่วงบั้นปลายมากมาย
· 2. The Ethos of Not Fooling Yourself : Keynes กล่าวไว้ว่า “It’s not bringing in the new ideas that’s so hard. It’s Getting rid of the old ones” จึงไม่แปลกที่เราพบเจอคนมากมายที่ยังยึดติดกับ Failed Idea , ความกล้าหาญที่จะไมหลอกตัวเองนั้น จึงเป็นสิ่งที่ทรงพลัง
· 3. Common (and Uncommon) Sense : การมี Set ของ common & uncommon sense ที่จัดระเบียบพร้อมใช้ (organized common or uncommon sense) มันเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ผู้คนชอบ calculate แต่ไม่ค่อยคิดกัน - ยิ่งมี basic knowledge มากเท่าไหร่ คุณก็ไม่ต้องหา new knowledge เท่านั้น
Critique of Academia
· 1. Fatal Unconnectedness: การศึกษาในมหาลัยเมกามันสะเปะสะปะมาก หลงทางสุดๆ มันมี Fatal disconnectedness เต็มไปด้วยเหล่าคนเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง ที่ไม่รู้ Big picture เลย เขาคิดว่าพวก Liberal art นั้นมีมุมมองที่ค่อนช้างแคบ โดยเฉพาะใน public policy – หล่านักวิชาการในสายงานนั้นมักไม่ค่อยรู้เรื่องของภาควิชาอื่น และไม่ค่อยสนใจจะเอาศาสตร์แต่ละอย่างมารวมกัน
How to Be Happy, Get Rich, and Other Advice
· 1. Tips on how to be happy and successful: ถ้าความสำเร็จทั้งหมดในชีวิตคุณมาจาก ความร่ำรวยที่ได้จากการซื้อขายตราสารต่างๆ มันเป็นชีวิตที่ล้มเหลว ชีวิตมีอะไรมากกว่าการสะสมเงินทอง
o ความสำเร็จในชีวิตหลายๆครั้งมากจากการรู้ว่าอยากหลีกเลี่ยงอะไร (Know what you want to avoid) เช่น ตายเร็ว การแต่งงานที่ย่ำแย่ (Bad Marriage)
o อย่าเอาตัวไปยุ่งกับ AIDS situation , ชับรถแข่งกับรถไฟ, เสพยา พัฒนา Good mental habit
· 2. Be Satisfied with what you have: ถ้าคุณมีเงินทองแบบอยู่สบายระดับหนึ่งแล้ว และมีคนอื่นรวยเร็วกว่าคุณโดยวิธีที่เสี่ยงกว่า ก็ช่างเขาไปสิ มันมีคนรวยเร็ซกว่าคุณอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องน่าเศร้าอะไร (Someone will always be getting richer faster than you. This is not a tragedy.) – Soros ทนไม่ไหวที่คนอื่นร่ำรวยจากหุ้น Tech กันหมด (ยกเว้น Sorosเอง) สุดท้าย Soros ก็พลาดท่าเจ็บหนัก
· 3. Beware of Envy: ความอิจฉาเป็น sin ที่งี่เง่ามาก เพราะมันเป็นแค่ sin เดียว (ใน 7 sin) ที่คุณไม่สามารถมีความสุขได้ด้วยเลย มีแต่ความเจ็บปวด
· 4. How to get rich: คำถามที่มักได้ยินบ่อยจากผู้ถือหุ้นอายุน้อยๆ คือ ทำยังไงจึงจะรวยตามรอยชาลี มังเกอร์ (แต่ขอรวยเวกว่าด้วย) เขาตอบว่า ให้ใช้เวลาแต่ละวันเพื่อพัฒนาตัวเองขึ้นทีละเล็กละน้อย ทำหน้าที่ของตนให้ดี ดีขึ้นทีละนิละน้อย ไม่ต้องรีบ มีวินัย สุดท้ายแล้ว ถ้าคุณมีชีวิตยืนยาวพอ คนส่วนใหญ่ก็ get what they deserve
· 5. The Importance of Reading : ตลอดชีวิตที่ผ่าน เขาไม่เคยเจอคนฉลาดสักคนที่ไม่อาจหนังสือเยอะๆ – ไม่เคยเจอเลย! – คุณจะแปลกใจว่าวอเรนอ่านหนังสือเยอะขนาดไหน ตัวมังเกอร์เองอ่านหนังสือมากจนเด็กๆบอกว่าเขาเป็นเหมือนหนังสือที่มีขางอกออกมา – มังเกอร์ชอบอ่านหนังสือBiography เขาเชื่อว่าถ้าคุณจะพยายามสอน concept ดีๆ มันช่วยได้มากถ้าคุณผูก concept นั้นไว้กับชีวิตและบุคลิกภาพของเหล่าคนที่พัฒนามันขึ้นมา เช่น คุณอาจเรียนเศรษฐศาสตร์ได้ดีขึ้น ถ้าคิดว่า Adam Smith เป็นเพื่อนคุณ (Making friends with the eminent dead) ผมคิดว่ามันดีกว่าเรียนรู้แต่คอนเซ็บอย่างดียว
Chapter 4 : Eleven Talks
Talk One: Harvard School Commencement Speech (June 13, 1986)
· เขาได้นั่งฟัง Harvard school commencement speech มากว่ายี่สิบอัน มี 1 specch ที่เขาอยากให้มันยาวกว่านี้ คือ “Prescription for guaranteed misery in Life” เขาจึงขอน้ำเรื่องนี้มาขยายความต่อ เนท่องจากเขาเห็นโลกมาเยอะกว่า ล้มเหลว รู้สึกแย่ มามากกว่า
· วิธีที่จะมั่นใจได้ว่า คุณจะรู้สึกแย่กับชีวิตแน่ๆ นั่นคือ
· 1. Ingesting Chemicals in an effort to alter mood or perception: การใช้ยาหรือสารเสพติด ข้อนี้ตรงไปตรงมา ในชีวิตเขาเองเจอคนเก่งๆมามากมายที่เสียผู้เสียคนเพราะติดยาติดเหล้า จนถึงตอนนี้เขาอายุ 60 กว่า ก็ยังไม่เคยเจอใครที่ชีวิตแย่เพราะพยายามหลีกเลี่ยงสารเสพติดต่างๆ
· 2. Envy : ความอิจฉาสร้างความเสียหายมายาวนานนับไม่ถ้วน ถ้าคุณอยากเก็บความอิจฉาไว้ทำให้ชีวิตย่ำแย่ต่อ ก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงอ่านหนังสือชีวประวัติของ Samuel Johnson เพราะชีวิตเขานั้นจะแสดงให้เห็นว่าการก้าวข้ามความอิจฉานั้น ทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร
· 3. Resentment : ความขุ่นเคืองคับแค้นใจ ชีวิตก็ยากพออยู่แล้วโดยไม่ต้องเค้นความคับแค้นออกมาเพิ่ม (Life is hard enough to swallow without squeezing in the bitter rind of resentment) สำหรับคนที่อยากรู้สึกแย่ ขอให้หลีกเลี่ยงวิธีของ Disraeli ในการรับมือกับมัน – Disraeli เป็น PM ของอังกฤษ ที่เรียนรู้จะละวางความแค้นใจ ไม่ใช่มันเป็น motivation แต่เขาไม่สามารถละทิ้งมันได้ทั้งหมด เขาจึงเขียนชื่อเหล่าคนที่เคยทำไม่ดีกับเขาไว้ในเศษกระดาษเล็กๆ เก็บไว้ในลิ้นชัก เขาจะหยิบมันมาดูเป็นระยะๆ เพื่อรีวิวว่าโลกช่วยกำจัดศัตรูเหล่านั้นไปหรือยัง
· 4. Be Unreliable: เป็นคนที่พึ่งพาไม่ได้ ผิดสัญญาบ่อย ถ้าคุณไม่อยากให้ใครไว้ใจ ไม่อยากอยู่ในที่ทำงานดีๆ สังคมดีๆ ข้อนี้คือคำจอบ ฝึกนิสัยนี้ให้ดี แล้วคุณจะกลายเป็นเหมือนกระต่ายในนิทาน ที่จะไม่แค่ถูกเต่าวิ่งแซงตัวเดียว แต่จะถูกเต่าบ้านๆ เต่าทั่วๆไป หรือแม้แต่เต่าพิการวิ่งแซงได้ง่ายๆ
· 5. Learn everything you possibly can from your own experience : ไม่ต้องสนใจเรียนรู้จากประสบการณ์คนอื่นๆ ไม่ว่าด้านดีหรือร้าย จากคนตายหรือเป็น – ความฉิบหายต่างๆในมนุษยชาตินั้นก็ไม่ได้มีแหล่งที่มาต่างกันมาก เช่น เมาแล้วขับ ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หลงเชื่อลัทธิแปลกๆ ธุรกิจล่มจมเพราะตามรอยความผิดพลาดของคนในอดีต เป็นต้น – ดังนั้นคำที่ชอบพูดกันว่า “If at first you don’t succeed, Try, Try Again.” มันไม่ถูกต้อง อย่างน้อยพวกนักโดดร่มคงไม่พูดคำนี้กัน
o การไม่เรียนรู้จากประสบการณ์คนอื่นนั้น ยังทำให้คุณพลาดการเรียนรู้จาก best work ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดังกรณีของ Sir Issaac Newton ที่บอกว่าสิ่งที่เขาทำนั้นคือ master the work of his best predecessor (Stand on the shoulders of giants)
· 6. Go down and Stay down when you get your first, Second, or third Severe reverse in the battle of life: จะสู้ไปทำไม ในเมื่อมันมีชีวิตมันยากลำบากมากมาย ไม่ว่าคุณจะโชคดีหรือฉลาดแค่ไหน ข้อนี้จะทำให้คุณได้เจอเรื่องร้ายในชีวิตแบบหนักหน่วงแน่ๆ
· 7. อย่าสนใจคำพูดนี้ “I wish I Knew where I was going to die, and then I’d never go there” : เพราะวิธีแก่ปัญหายากๆที่ดีที่สุดนั้น หายๆครั้งคือการ คิดย้อนกลับ (Invert, always invert) เช่น ถ้าอยากรู้วิธีมีชีวิตอย่างมีความสุข ก็ให้หาคำตอบว่า ทำยังไงจึงจะเจอความทุกข์แน่ๆ (Turn question backward)
o จากเดิมที่เราอยากรู้วิธี สร้าง X เราก็หาวิธีมาสร้าง non-X เช่น ครั้งหนึ่งนักวิทย์มากมายอยากรู้ว่ากฏ electromagnetic ของ Maxwell จะไปกันกับ motion law of newtons ได้ยังไง สิ่งที่ Einstein ทำก็คือคิดย้อนกลับ ปรับกฏของ newton ไปเข้ากับ Maxwell เสีย
· คนส่วนใหญ่ พอประสบความสำเร็จในช่วงแรกแล้ว จะมีแนวโน้มต่อต้อนข้อมูลใมห่ หรือข้อมู,ที่คัดแย้งกับสิ่งที่ตัวเองเชื่อ พวกเขาต้องการให้สิ่งที่เขาคิดว่าดีแล้วนั้นไร้มลทินต่อไป – ต่างกับบทเรียนสำคัญจาก Charles Darwin หรือ Einstein ที่ในเรื่อง Self-Criticism ซึ่งไม่กลัวว่า idea ที่ตนเองยึดถือนั้นจะถูกทดสอบหรือทำลาย
· ถ้าคุณแปลความคำว่า “True to yourself” ว่าคือการคงความเป็นตัวตนตั้งแต่วัยเยาว์นั้น มั่นใจได้เลยว่าคุณจะเต็มไปด้วย Ignorance และมีความทุกข์มากมายในชีวิต
· Munger Revisit : ในปี 2006 ที่เขาได้รีวิวสปีชนี้ เขาบอกว่าทั้งเจ็ดข้อยังคงเดิมอยู่ ที่อยากเน้นคือ Reliability มันสำคัญจริงๆถ้าอยากไปได้ไกลในชีวิต มันเป็นศาสตร์ที่ใครๆก็เรียนรู้ได้ง่ายๆ - เขามักถูกมองแปลกๆทุกครั้งเวลาแสดงความเห็นในพวก Elite Campus ว่า McDonald เป็นหนึ่งในสถาบันที่น่ายกย่อง เพราะมันให้งานแรกๆแก่วัยรุ่นเมกาหลายๆคน ซึ่งมันช่วยสอนให้พวกเขาพัฒนาความรับผิดชอบในงานที่ทำได้เป็นอย่างดี และชอบพูดเหน็บๆว่า หาก elite campus สอนให้คนรับผิดชอบในหน้าที่ได้ดีแบบ McDonald , โลกคงดีขึ้นเยอะ
Talk Two: A Lesson on Elementary, Worldly Wisdom As It Relates To Investment Management & Business (The University of Southern California Marshall School of Business, April 14, 1994)
· ทฏษฎีการศึกษาสมัยใหม่บอกว่า คุณต้องมี General Education ก่อนที่จะ Specialize ดังนั้น ก่อนที่เขาจะพูดเรื่อง stock picker เขาคิดว่าต้องปูพื้น General education บางอย่างก่อน (นั่นคือ Worldy wisdom – ความเข้าใจความเป็นไปของโลก ประเด็น )
· Elementary Worldly Wisdom แรก ที่เขาแนะนำก็คือ คุณไม่สามารถรู้อะไรได้จริง จากการพยายามจำข้อเท็จจริงแบบสะเปะสะปะ และพยายามจะเอามันไปใช้ (You can’t really know anything if you just remember isolated Facts and Try and Bang them back) ถ้า fact ต่างๆไม่ได้เชื่อมติดกันเป็น Latticework of theory คุณจะไม่รู้วิธีใช้มัน (You don’t have them in a usable form)
· คุณต้องมี Model ในหัว แล้วนำประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์คนอื่น (Vicarious) หรือ ประสบการณ์ตรง มาผนึกรวมกับ model นี้ – คุณอาจเคยพบเจอนักเรียนหลายคนที่เน้นท่องจำข้อมูล แต่ก็ไปไม่ถึงไหน
· Models ที่ว่าคืออะไร? ก่อนอื่นต้องย้ำว่า คุณต้องมีหลายๆ Models - ถ้าคุณใช้แค่ 1-2 Model หากิน จิตวิทยาของมนุษย์เรามักจะข่มขืน reality นั้นให้มา fit กับmodel ที่เรามีอยู่ เหมือนกับคำกล่าวโบราณที่ว่า “To the man with only a hammer , every problem looks like a nail”
· Model นั้นต้องมาจากสหสาขา เพราะภูมิปัญญาในโลกของเราไม่ได้จำกัดอยู่ที่สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง นี่ป็นเหตุว่าพวกศาสตราจารย์ด้านPoetry ก็อาจไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาดนัก เพราะพวกเขาไม่ได้มี model ในหัวมากพอ
· 80% - 90% ของ model ที่สำคัญๆนั้น จะ carry ข้อมูลสำคัญประมาณ 90% ที่พอจะทหคุณเป็น worldly-wise person
· แล้วถ้าจะชำนาญเรื่อง stock picking ซึ่งถือว่าเป็ฯเรื่องแคบๆ จะต้องมี models , basic knowledge อะไรบ้าง?
· 1. คณิตศาสตร์ : นอกจากบวกลบคุณหาร และเรื่องดอกเบี้ยทบต้นแล้ว model ที่มีประโยชน์มากๆก็คือ ความน่าจะเป็น ซึ่งมีประโยชน์มากๆในชีวิตประจำวัน มันทำให้เราเข้าใจ how the world works มากขึ้น การเรียนเรื่องความน่าจะเป็นนั้นไม่ยาก ที่ยากคือการนำมันไปใช้ในชีวิตประจำวัน (คิดตัดสินใจแบบความน่าจะเป็น) ซึ่งมันฝืนธรรมชาติของเรา เพราะ สมองเราชอบใช้ทางลัดและการประมาณหยาบๆมากกว่า ดังนั้นคุณต้องหมั่นฝึกฝน - ถ้าคุณไม่นำเรื่องความน่าจะเป็นพื้นฐานนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน คุณจะใช้ชีวิตเหมือนคนขาเดียวในงานแข่งถีบก้น (one-legged man in an ass-kicking contest) คุณจะเสียเปรียบคนอื่นมากๆ - บัฟเฟตเป็นคนที่คิดแบบ decision tree และ ความน่าจะเป็นโดยอัตโนมัต
· 2. Accounting : บัญชีคือภาษาของธุรกิจ มันคือโคตรสิ่งประดิษฐ์ มันไม่ได้เข้าใจยาก แต่คุณต้องรู้จักมันดีพอ ต้องรู้ว่ามันมีข้อจำกัดอะไรบ้าง งบการเงินมันเป็นแค่ starting place และมันมี crude approximation มากมาย
o 3 . Psychology: การสื่อสารนั้น ต้องมี 5W – Who, What , Where, When, Why ซึ่งสิ่งที่สำคัญห้ามลืมเด็ดขาดก็คือ “Why” , การที่เราสื่อสารโดยมี Why ตลอดนั้น จะทำให้คนรับสารเข้าใจดีขึ้น คิดว่ามันสำคัญมากขึ้น และยอมทำตามมากขึ้น ไม่เข้าจะไม่เข้าใจเหตุผลนั้นก็ตาม เขาก็ยอมทำตามมากกว่า และการพยายามถามหา why ก็จะทำให้คุณเข้าใจ Worldly wisdom มากขึ้น
o if people tell you what you really don’t want to hear, there is almost an automatic reaction of antipathy. You need to train yourself out of it. You will tend to behave this way if you don’t consciously think about it.
· 3. Engineering & Physics : Back up system , Break point, Critical Mass
· 4. Biology/Physiology: เรานั้นต่างก็ถูกสร้างจาก genetics ที่ไปๆมาๆก็ไม่ต่างกันมาก
· 5. Psychology : สมองคนเรามี automatic shortcut มากมาย เราจึงถูกหลอกได้ง่าย ดังนั้นเราต้องรู้จักข้อจำกัดของสมองเรา เหมือนที่เรารู้จักข้อจำกัดต่างๆของเครื่องมือ Psychology of Misjudgement เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่ทุกๆคนควรเรียนรู้ เขารู้จักคนฉลาดมากมายที่ทำเรื่องโง่ๆ เพราะพลาดท่าให้กับมัน ตัวเขาเองก็ทำความผิดพลาดโง่ๆจากเรื่องนี้ - มีคำพูดหนึ่งของ Pascal ที่มังเจอร์คิดว่ามันใช่มากๆ ยิ่งเราดูจากการประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา คำกล่าวนั้นคือ “"The mind of man at one and the same time is both the glory and the shame of the universe"
o เพื่อรับมือกับปัญหานี้ เขาใช้วิธี two-track analysis คือ แรกสุดพิจารณาสิ่งต่างๆโดยใช้เหตุผล และต่อมาจึงคิดว่า มี subconscious influence อะไรจากสมองเราให้ที่อาจทำให้เราตัดสินอะไรที่ไม่รู้ตัว (First Rationality , Second Evaluate the psychological factor that cause subconscious conclusion – many of which are wrong)
· 6. Microeconomics: มองเศรษฐกิจเป็น free market หรือ partly free market และมองมันให้เหมือนกับ Ecosystem
o Economics ad Ecosystem: การคิดว่าเศรษฐกิจเป็นเหมือนระบบนิเวศนั้นมันอาจขัดกับความรู้สึกไปบ้าง ในช่วงหลังจาก Darwin นั้น พวกมหาโจรทั้งหลายเชื่อว่า Survival of the fittest กำลังบอกพวกเขา ว่ามันสมควรแล้วที่พวกเขามาถึงจุดนี้ ซึ่งมันคงทำใจลำบากที่จะมองว่าเศรษฐกิจคือระบบนิเวศที่ปล่อยให้โจรเป็ฯใหญ่ได้ แต่ระบบนิเวศมันเอื้อให้คนที่ narrowly specialize ได้โอกาสดีๆ ใน some little niche อยู่แล้ว เหมือนกับที่สัตว์แต่ละตัวจะมี Niche ที่มันอยู่ได้ดีต่างกันไป คนในโลกธุรกิจก็เช่นกัน ที่จะมีบางภาคส่วนที่เขาทำได้ดีจริงๆ
o Advantage of Scale : แน่นอนว่าการผลิตได้มากๆทำให้มีการปะหยัดต้นทุนได้ ดังที่สอนกันในโรงเรียน เรื่อง Experience Curve ซึ่งก็เป็นจริง เช่น การโฆษณาทางทีวี บริษัทใหญ่ๆเช่น P&G ที่สามารถมีเงินพอจ่ายวิธีนี้ได้ เพราะพวกเขาขายของเยอะมากอยู่แล้ว ตอนทีวีมากใหม่ๆ พวกแบรนใหญ๋ๆจึงได้เปรียบมากๆ
§ นอกจากนี้ Advantage of scale ยังมีเรื่อของ Informational Advantage (ยิ่งดังยิ่งได้เปรียบ) สมมติคุณไปที่ชนบทแล้วเจอหมากฝรั่งยี่ห้อดัง กับยี่ห้อเฉพาะที่ คุณมีเงินซื้อได้อันเดียว คุณจะซื้ออันไหน?
§ Social Proof Phenomenon : มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มักทำตามๆกันโดยไม่รู้ตัว (อาจมีบางครั้งที่รู้ตัวบ้าง) ดังนั้นหากคนอื่นๆแห่ซื้อของบางอย่าง เราก็มักจะอยากมีกับเขาด้วย ไม่อยากตกยุคอยู่คนเดียว เหมือน coca-cola ซึ่งได้เปรียบมากที่มันมีขายทั่วโลก
§ บางครั้ง Advantage of scale นำไปสู่ Winner-Take-All Situation เช่นธุรกิจหนังสือพิมพ์รายวัน ที่เกือบทุกเมืองในสหรัฐจะเหลือนสพ.แค่เจ้าเดียว เพราะถ้าหนังสือพิมนั้นมีคนซื้อมากสุด มันก็จะได้ค่าโฆษณามากสุด และเมื่อมีเจ้าหนึ่งได้ทั้งโฆษณาและการจำหน่ายมากสุด คนก็จะไม่ซื้ออันอื่นแล้ว
§ Advantage of Scale มันเป็นเรื่องสำคัญมาก ตอน Jack Welch เข้ามาทำงานใหม่ๆที่ GE เขาประกาศชัดว่า GE ตั้งเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ในทุกๆด้าน ไม่อย่างนั้นก็เจ๊ง เขาไม่สนว่าจะต้องไล่คนออกไปเท่าไหร่ ต้องทำมันให้ได้
o Disadvantage Of Scale : Bigger is not always better บางครั้ง Ecosystem ก็ทำให้บางภาคส่วนเกิด specialization ที่แคบลงเรื่อยๆ ซึ่งมันจะได้เปรียบกว่า เช่น นิตยสารที่มีเรื่องสัพเพเหระ ก็อาจสู้นิตยสารที่เจาะกลุ่มเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเดียวไม่ได้
§ และที่อันตรายที่สุดสำหรับองค์กรที่ Scale ใหญ่ๆก็คือ Big, Dumb Bureaucracy – และเมื่อเกิด Bureaucracy สิ่งที่ตามมาอีกก็คือ Territoriality ซึ่งมันฝังอยู่ในธรรมชาติมนุษย์
§ อย่าง AT&T ในสมัยก่อนนั้นเป็นองค์กร Bureaucracy ใหญ่มากๆ ทุกคนทำงานเช้าชามเย็นชาม ทำงานแยกฝ่ายกันสุดๆ จนแทบไม่ได้งานอะไรออกมาเลย และมันCorrupt ง่ายๆมากๆ แต่ละ department มีอำนาจตัวเองและตกลงกันว่า ถ้าไม่มาหาเรื่องเรา เราก็จะไม่ไปยุ่ง ทุกคน happy - ผลคือมีมัน layer ของฝ่ายบริหารและบุคลากรต่างๆมากมาย งานเดินไปไหนไม่ได้ การตัดสินใจทุกอย่างเชื่องช้า และบ่อยครั้งก็ทำให้เกิดการกระทำโง่ๆจากเหล่าผู้บริหารตำแหน่งสูงๆนั่นเอง
o ธุรกิตจึงเป็นการสู้กันไม่จบไม่สิ้นระหว่างสองชั้วพลัง คือ พลังที่อยากโตให้มี advantage of scale และอีกด้านคือพลังที่จะเปลี่ยนองกรณ์กลายเป็น Bureaucracy
o Chain Store จึงมีแง่ความน่าสนใจด้าน advantage of scale ตรงที่คุณจะมี Huge Purchasing power จึงต่อรองต้นทุนได้ถูกกว่า และคุณมีสาขาย่อยมากมาย ซึ่งสามารถทดสอบสิ่งต่างๆ และปรับให้มัน specialized ได้ เป็นการบังคับให้หน่วยย่อยๆนั้นต้องหาวิธีปรับตัวให้อยู่รอดด้วย – Walmart คือสิ่งที่น่าทึ่ง เริ่มจากร้านเล็กๆ ค่อยๆตีร้านโชห่วยเล็กๆให้ตายไป ทีละร้านสองร้าน จนสุดท้ายก็สามารถโค่น Sears (ซึ่งโดน Bureaucracy เล่นงานจนเละ) ลงได้ - คุณอาจมองว่า Walmart เอาปรียบรายย่อย แต่มันก็คือโลกของทุนนิยม และที่จริงแล้วมังเกอร์คิดว่าร้านโชห่วยเ,กๆก็ไม่ได้ดีอะไรขนาดนั้น , Walmart ให้ที่ทำเงิน ให้รายได้จนหลายๆคนตั้งตัวได้เช่นกัน ความรู้สึกต่อร้านโชห่วยจึงอาจเป็นแค่ delusion and nostalgia เสียมากกว่า
o เรื่องแปลก ที่บางตลาดนั้นยังมีผู้เล่นรายใหญ่อยู่ร่วมกันได้ แต่บางตลาดนั้นสุดท้ายไม่มีใครสร้างกำไรได้เลย – นั่นคือ Airline – มันเป็นเรื่องแปลกที่การแข่งขนัในบางตลาดนั้นรุนแรงมาก ฆ่ากันจนตายหมด แต่บางตลาด เช่น อาหารเช่าซีเรียล พวกยี่ห้อดังๆก็อยู่ร่วมกันได้ ทุกคนได้กำไรกัน แม้จะแข่งกันดุเดือนเหมือกัน – มังเกอร์บอกเขาก็ไม่เข้าใจสิ่งนี้มากนัก อาจเพราะ brand identity factor ของ cereal นั้น ต่างกับในกรณีของ Airline หรืออาจเพราะคนในวงการทำซีเรียลขี้เกียจห้ำหั่นแย่ง market share กันแล้ว เช่น หาก Kellogg นึกคึกขึ้นมาว่าจะขอ market share ในตลาด 60% , Kellogg ก็น่าจะทำได้ แต่สุดท้ายก็คงแพ้ภัยตัวเอง
o บางธุรกิจจึงทำตัวแบบ Airline บางธุรกิจทำตัวเหมือน Cereal - มังเกอร์เองยังไม่มี model ที่จะทำนายได้เหมือนกันว่ามันมีเงื่อนไขได้บ้างที่จะเกิดหรือไม่ – ขนาด pepsi และ Coke ยังแข่งกันไม่เหมือนกันในแต่ละตลาด บางตลาดมันก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบ บางประเทศสองเจ้านี้แข่งกันตายจนสูญกำไรทั้งคู่ มันอาจเกี่ยวข้องกับคนที่บริหารจัดการด้วย
o นอกจากนี้เรื่องConcept ของ Patent , Trademarks , Exclusive franchise ก็ช่วยทำเงินได้มาก
o ในเรื่อง Technology สิ่งที่คุณต้องแยกให้ออกคือ มันจะมาช่วยหรือฆ่าคุณ หลายๆคนไม่เข้าใจเรื่องนี้ เช่น ตอนเราทำธรุกิจสิ่งทอ ซึ่งเป็น commodity business ที่ย่ำแย่มากๆ มีคนเสนอเครื่องจักรรุ่นใหม่ห้เรา เขาบอกว่ามันจะผลิตสินค้าให้เราได้มากกว่าเครื่องเดิม 2 เท่า วอเรนบอกว่าขอให้เครื่องนี้ไม่ work ไม่งั้นเราเจ๊.จริงแน่ๆ เพราะก่อนหน้านี้เราทำกำไรได้น้อยมากๆ และทู่ซี้เปิดธุรกิจเพื่อให้คนงานยังมีรายได้หล่อเลี้ยง เครื่องจักรที่เพิ่ม productivity เยอะขนาดนี้ จะทำให้ประโยชขน์ตกสู่คนซื้อโดยตรง และเป็นโทษต่อเจ้าของโรงงาน เพราะลงทุน upgrade ก็เสียเงินไปเปล่าๆ (คนอื่นๆกจะทำตามๆกัน สุดท้ายก็ปรับราคาแข่งกันอยู่ดี) - ดังนั้น ถ้ามีคนมาเสนอเครื่องจักหรือวิธีใหม่ๆที่จะเพิ่ม productivity อย่าลืม second step analysis ด้วยว่ามันจะสร้างกำไรให้คุณได้มากขึ้นหรือไม่
o เครื่องจักรที่ดีขึ้น ลดต้นทุนได้จริง แต่ความประหยัดต้นทุนไม่ได้เข้าไปหาคุณ มันตรงไปหาผู้บริโภค - นี่คือ basic simple idea ที่หลายๆคนลืมคิดไป
o อีก Model ทีน่าสนใจใน Macroeconomics คือ Competitive Destruction : สถานการณ์ที่พอมีของใหม่เข้ามา (เช่น รถยนต์) แล้วของเก่า (เช่นรถม้า) ก็หายเกลี้ยงทันที พวกที่ได้ประโยชน์มากๆจึงเป็น early bird ที่ได้ Surfing ตั้งแต่หัวคลื่น แล้วอยู่คต้างยอดคลื่นไปได้นานๆ (ถ้าไม่จมน้ำตายไปเสียก่อน) - ถ้านักลงุทนเห็นโอกาสนี้ได้ คุณคาดได้เลยว่าจะได้กำไรงามแน่ๆในระยะยาว เพราะ Surfing มันเป็น Model ที่ทรงพลัง - แต่แน่นอนว่า BRK ไม่สนพวก surfing ใน complicated tech มากนัก เราเป็นพวกหัวโบราณ และเราไม่คิดว่ามีข้อได้เปรียบมากในพวก high-tech sector แต่ถ้าไฮเทคนี้อยู่ใน circle of competence ของคุณ ก็ลุยเต็มที่
· เข้าสู่เรื่อง Common Stock Picking : เข้าถามแรกคือ What is the nature of the stock market? ซึ่งเขาจะโกรธมากถ้ามีคนอ้างทฤษฑี Efficient Market (เรื่องตลกคือนักเศรษฐาสตร์ชื่อดังที่เขียนtextbook เล่าเรื่องทฤษฑีตลาดมีประสิทธิภาพนี้ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ BRK – He Hedge his bet!) อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเอาชนะตลาดหุ้นได้ อ้างตาม normal distribution มันจะมีคนแค่ 20% เท่านั้นที่อยู่ใน top fifth มันคือธรรมชาติ
· Model ที่เขาคิดว่าอธิบายตลาดหุ้นได้ดี คือ Pari-Mutuel System นั่นคือ ไม่ว่าใครก็ตาม ร่วมลงพนันในสนามนี้ได้ แต่โอกาสจะเปลี่ยนไปตามสิ่งที่ถูก bet มากหรือน้อย ตัวอย่างเช่นไม่ว่าใครก็มองออก ว่าม้าที่ยกของเบาๆ มีwin rate ดีกว่าในอดีต นั้น มีโอกาสชนะมากกว่าม้าที่ perform ได้แย่มาตลอด และยกของหนักสุดๆ แต่พอมาดู odds จะพบว่าม้าตัวที่ไม่ดีนั้น ลง 1 จ่าย 100 แต่ม้าตัวที่ดีที่ทุกคนคิดว่าจะชนะ ลง 2 จ่าย 3 – ราคาเปลี่ยนไปแบบนี้แม้จะคิดด้วยความน่าจะเป็นก็บอกยาก ว่าควรเลือก choice ไหน ในแง่นี้มันจึงมีส่วน efficient แต่หลายๆครั้งมันอาจมี Misprice Bet ออกมา ซึ่งนี่คือโอกาส ที่คุณต้อง Bet Heavily ด้วย
· แล้วคุณต้องมี Insight เยอะขนาดไหน? เราคิดว่าทั่งชีวิตก็ไต้องมากมายนัก ที่BRK นั้นความร่ำรวยของเราส่วนใหญ่มาจาก top ten insights เท่านั้น คุณไม่ต้องฉ,ดทุกขั้นรู้ทะลุปรุโปร่งในทุกๆอย่าง อยู่ในสิ่งที่คุณเข้าใจ โอกาสมาถึง ก็จัดมันเต็มที่ – The Winner has to bet very selectively
· What Style should the investor use as a picker of common stock in order to try to beat the market? : มีเทคนิคมากมาย เช่น Sector rotation ที่บอกให้คุณเปลี่ยนถืหุ้นในกลุ่มที่กำลังรุ่ง ถ้าน้ำมันกำลังดี ก็ไปซื้อหุ้นน้ำมัน เป็นต้น วิธีนี้ มังเกอร์ไม่เคยเจอคนที่รำรวยจากมันได้
· วิธีที่สองคือแบบ Ben Graham – ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง มี Margin of safety - อย่างไรก็ตาม สิ่งที่graham คิดขึ้นมานั้นอยู่ในช่วงปี 1930s ซึ่งมีภาวะเศรษฐกิจหดตัวรุนแรง และมีของราคาถูก (ราคาขายน้อยกว่า working capital ) ให้เลือกซื้อมากมาย ต่างจากสมัยนี้ “Classic Ben Graham concept” อาจไม่ได้ผลแล้ว เพราะคนในตลาดฉลาดขึ้น Bargain หาได้ยากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าถ้า BRK ยังคงยึดถือ classic concept อย่างเคร่งครัด เราจะมาไม่ไกลขนาดนี้
o มองในแง่หนึ่ง Graham พยายามสร้างระบบที่ใครๆก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ เขาไม่ได้สนใจว่าต้องลงไปคุยกับผู้บริหาร ต้องลงไปหาข้อมูลในพื้นที่จริง
o
o ส่วนเหล่าคนที่ยึดถือแนวคิดเกรแฮมมาก บางทีก็ทำตัวแบบคนถือฆ้อน คือพายายามเปลี่ยนนิยามของคำว่า bargain ไปเรื่อยๆ เพื่อยังให้มันคงตรงคอนเซ็บอยู่
· เราเริ่มต้นด้วยแนวคิดแบบgraham แต่ค่อยๆพัฒนาตัวเองเรื่อยๆ เราได้ insight ว่าบางบริษัที่ขายในราคา 2x-3xBV นั้น ก็ยังถือว่าโคตรถูก (Hell Bargain) เมื่อคิดปัจจัยอื่นด้วย เช่น ผู้บริหารระดับเทพ เรากล้าที่จะคิด ว่าบางอย่างมันก็ยังมี bargain อยู่ (แม้วัดเชิง quantitative แล้ว graham คงกลัวมากๆ) - กล่าวได้ว่า ความมั่งคั่ง 200-300 ล้านแรกๆ ของเรานั้นมาจากแนวคิด เกรแฮม ส่วนที่เหลือ มาจากแนวคิดเราที่มุ่งหา great business มากขึ้น – BRK system จึงเป็นการหา misprice bet ใน High-quality business และ จัดหนักเมื่อโอกาสมาถึง เรา stick around limited valuable insights ใน circle of competence ของเรา เราไม่แสร้งว่าเรารู้ทุกเรื่อง โลกใบนี้มีคนเก่งคนขัยนมากมาย จะไปสู้ในสนามที่ไม่ได้เปรียบทำไม
· ในระยะยาวราคาหุ้นจะไปด้วยกันกับกำไรบริษัท แล้วเราจะหาบริษัทดีๆจากไหน?
· วิธีหนึ่งคือหามันตั้งแต่ช่วงตั้งไข่ เช่น Walmart ตอน IPO ถ้าเขายังหนุ่มๆ ก็อาจสนใจโอกาสพวกนี้ แต่ BRK นั้นคงทำไม่ได้เพราะมีเงินมากไป
· หรือ มองหาธุรกิจยอดเยี่ยมที่มี CEO ขั้นเทพ เช่น GE ตอนที่ Jack welch พึ่งเข้ามากุมบังเหียน ซึ่งทั้งสองอย่างมันไม่ได้ identify ยากเลย - อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องเลือกระหว่างคุณภาพของธุรกิจและผู้หริหาร จงเลือกธุรกิจไว้ก่อน (นานๆครั้งที่ผู้บริหารจะเก่งมากๆ แม้แต่ธุรกิจดาดๆก็บริหารได้ดี)
· บางธุรกิจนั้น ผู้บริหารสามารถทำกำไรได้เพิ่มมหาศาลจากการขึ้นราคา แต่ก็ยังไม่ทำ มันแปลว่าบริษัทยังมี Untapped Pricing power ที่ยังไม่ถูกใช้ไป เช่น Disney ที่ขึ้นค่าตั๋วก็ยังมีคนเข้า
· Cancer surgery formula for sick businesses.
Look at the mess and figure out if there is anything sound left that can live on its own if everything else was cut away. If anything sound was found, cut away everything else. Else, liquidate the business. But saving the sound divisions frequently work. E.g. GEICO was a great business submerged in a mess, but still working. All they had to do was cut out all the folly and go back to the perfectly wonderful business that was lying there.
Look out for a wonderful business combined with a bunch of foolishness that could be easily cut out, with new management who were coming in who were temperamentally and intellectually designed so they were going to cut it out.
Talk Three: A Lesson on Elementary, Worldly Wisdom, Revisited (Stanford Law School April 19, 1996)
· หาก Buffett ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆหลังจากจบ business school เลย ป่านนี้ BRK ก็คงไปไม่ถึงไหน
· มังเกอร์เชื่อว่าราต้องมีระบบ lactticework of mental model ในหัว และนำประสบการใมห่ๆจากที่เจอเองหรือของคนอื่นมาใส่มันไว้เรื่อยๆ ทุกอย่างจะค่อยๆรวมกันและเพิ่ม cognition ของเรามากขึ้น
· หากคุณต้องการเป็นนักคิดที่ดี ต้องออกมาจากกรอบสิชาการที่จบมา ใช้ multidisciplinary approach ต้องเรียนรู้ main model จากหลายๆสาจาวิชา และใช้มันทั้งหมด
· ให้ระวัง Heavy Ideology เพราะมันสามารถครอบงำความคิดของคนฉ,ดหลักแหลมมาได้นักต่อนัก เพราะชีวิตมันซับซ้อนมาก ไม่มีแนวคิดไหนที่จะถูกต้องไปทุกอย่าง ย่าง Noam Chomsky ซึ่งถือว่าหลักแหลมมากนั้น ก็ไม่ยอมรับว่าที่มาของภาษามนุษย์นั้นมาจาก Darwinian evolution เพราะมันขัดกับแนวคิดซ้ายของเขา แน่นนอนเขาไม่ได้ต่อต้านอุดมการณ์ที่จะทำดีเพื่อส่วนรวม แต่มันอัตรายถ้าคนนั้นๆยึดมั่นในอุดมการว่าข้าเก่งข้าแน่ข้าถูกมากไปจนมืดบอดด้านอื่นๆ เพราะระบบสังคมเราซับซ้อนมากๆ ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันไปหมด ระบบที่เราคิดว่าดีแน่ๆ พอมาทำจริงๆมันอาจคนละเรื่องก็ได้
· Checklist ก็มีประโยชน์มาก มันทำให้เราเห็นคนฉลาดหลายๆคนพลาดมานักต่อนัก เช่นการทดลอง Stanley-milgram ที่นักจิตวิทยาสรุปว่ามันเกิดจาก authority power อย่างเดียว เกิดเป็น First Conclusion Bias ทั้งๆที่ถ้าใช้ checklist tendency ทางจิตวิทยา ก็จะพบว่ามันมีอีกหลายปัจจัยที่รวมกันให้ได้ผลการทดลองที่ extreme แบบนั้น
· หรือเช่น ถ้าคุณออกแบบระบบให้มีการโกงกันง่ายๆ (คนเราจะโกงแน่ๆก็เมื่อ 1. ทำง่าย 2. ไม่มีทางถูกจับ) นั่นคือคุณกำลังปล่อยให้ psychological tendency มากมายแผลงฤทธิ์ เช่น incentive caused Bias (โกงแล้วเยอะ แล้วจะให้เหตุผลว่ามัน OK), Social proof bias (ใครๆก็ทำกัน) , Inconsistence avoidance (ทำกันมานานแล้ว) องกรคุณจะกลายเป็นซ่องโจร ที่ถ้ามีใครจะเป็น whistle blower ก็จะไม่ตายดี - ดังนั้นแล้ว ถ้าคุณอยากทำลายอารยธรรมของมนุษยชาติ ก็จงออกระบบหรือกฏหมายที่ทำให้โกงกันได้ง่าย แม้เจตนาตอนแรกนั้นจะเป็นเจตนาดี เช่นระบบ worker compensation ใน California ที่ตอนแรกเจตนาให้คนงานที่รับผลกระทบจากการทำงานได้เงินชดเชย แต่สุดท้ายก็โกงกันแหลก (เช่น อ้างป่วยปลอมๆ เพื่อเอาเงินชดเชย)
· ในด้านการลงทุน มังเกอร์นำเรื่อง psychology มาผนวกรวมอย่างไร? การลงุทนนั้นยากเพราะแม้จะเจอุรกิจดีๆนั้น ก็ยังต้องดูราคาด้วย 98%ของเวลาทั้งหมด เรามองว่าเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับทิศทางตลาดเลย เรามองหาโอกาสในขอบข่ายที่เราได้เปรียบ บางครั้งมันก็มาจากมุมมองด้านจิตวทยา บางครั้งก็มาจากเรื่องปัจจัยอื่น แต่โอกาสดีๆมากนั้นมีแค่ปีละ 1-2 ครั้ง เราไม่มีระบบอัตโนมัติในการคัดกรองการลงทุน เราพยายามหา no-brainer decision หาปัญหาง่ายๆ ไม่ง่วนไปกับการหาปัญหายากๆ บางครั้ง insight นั้นก็มาจากสถิติ บางครั้งก็ไม่ เรามองหา mispriced opportunity ที่เราฉลาดพอจะ Recognize ซึ่งมันเกิดไม่บ่อย แต่ในชีวิตคุณนั้น โอกาสทองเช่นนี้แค่ไม่กี่ครั้งก็สร้างความร่ำรวยมหาศาลแล้ว อีกเคล็ดลับคือทั้งมังเกอร์และบัฟเฟตเป็นพวกที่ยอรับการเปลี่ยนแปลง prior conclusion ได้ดี หากมีไอเดียที่ดีกว่ามาแทนที่ ไม่ยึดติดกับความคิดเดิมที่พิสูจน์แล้วว่าผิด
· เราเองก็ทำอะไรผิดพลาดมามาก มันไม่มีวิธีสำเร็จรูปที่จะทำให้คุณไม่พลาดเลย แต่เราสนับสนุนให้คุณฝึกฝนเพื่อจะสร้างคามผิดพลาดให้น่อยที่สุด และเมื่อพลาดแล้วต้องแก้มันให้เร็ว คุณไม่สามารถมีชีวิตที่ปกติสุขได้โดยไม่เคยสร้างความผิดพลาดเลย อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดทำให้คุฯเสียผู้เสียคน โดยผ่าน deprival super-reaction syndrome – จำไว้ว่าคุณยอมแพ้และปล่อยมันไปได้ และมีชีวิตต่อไปเพื่อสู้อีกครั้ง อย่าหมกมุ่นจนมันทำให้แตกสลาย
· มังเกอร์บอกว่ามันไม่มี One-size-fit-all investment strategy คุณต้องรู้จักธรรมชาติละพรสวรรค์ของคุณ หากลยุทธ์ลงทุนที่เข้ากับมันให้ได้ อย่างของมังเกอร์นั้นที่กล้าใส่เงินลงทุนจำนวนมากไว้ที่โอกาสใดโอกาสหนึ่ง เพราะตัวเขาเองไม่ได้มี action รุนแรงมากกับการขาดทุน (Good at taking loss) และเขาเองก็มีความเป็นนักพนันหน่อยๆ แต่เมื่อโอกาสมันดีจริงๆ เขาก็ไม่อยากพลาด
· และถ้าคุณไม่รู้อะไร หรือไม่ได้รู้อะไรมากกว่าคนทั่วๆไป ก็อย่ากลัวที่จะยอมรับว่าไม่รู้ ครั้งหนึ่ง Jack Welch เคยถูกถามว่า Apple ทำอะไรพลาด Jack ตอบทันทีว่าเขาไม่มีความชำนาญเป็นพิเศษในสาขานั้น จึงไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ คนอย่างเขานั้นสามารถพูดอะไรก็ได้ สาธารณชนก็คงเชื่อหมด แต่ถ้าเขารู้ว่าที่พูดมานั้นไม่ได้เกเดจากความเข้าใจความชำนาญจริงๆ เลือกเงีบไว้เป็นตัวเลือกที่เยี่ยมมาก ต่างกับคนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้ก็จะพยายามตอบ ไม่มีใครหวังว่าคุณจะรู้ทุกอย่างอยู่แล้ว
· Munger เชื่อในหลักการว่าจะ master สิ่งที่คนอื่นค้นพบและคิดได้ คงไม่มีใครฉลาดพอจะคิดทุกอย่างได้เอง เขา passionate about wisdom with accuracy เขาเชื่อว่าหลายๆคนจะพลาดมาก ถ้าเละลเย Elementary Worldly Wisdom มันททำให้ชีวิตคุณกว่างขึ้น ทำให้ชีวิตสนุกขึ้น
Talk Four: Practical Thought About Practical Thought? (An Informal Talk, July 20, 1996)
· โจทย์หลักในเรื่องนี้คือ คุฯจะเปลียนบริษัทมูลค่า สองล้าน ให้กลายเป็น สองล้านล้าน ได้อย่างไร? เขาเริ่มโดยเสนอ 5 simple general notion ในการแก้ปัญหานี้
o 1. Simplify problems by deciding big no-brainer question first
o 2. พยายามใช้คณิตศาสตร์แก้ปัญหาเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น
o 3. ถ้ารู้สึกตันๆเวลาคิดไปข้าวหน้า ก็จงคิดย้อนหลัง (Invert. Always invert)
o 4. คิดใน multidisciplinary manner
o 5. ผลลลัพธ์แบบ Extreme จะเกิดได้นั้น ต้องใช้ “Lollapalooza Effect” ซึ่งเกิดจากมี combination of factor
· สมมติให้ในปี 1884 เมือง Atlanta คุณกับเพือนคนหนึ่งจะตั้งบริษัท เพื่อนคุณนั้นอยากตั้งบริษัทขายน้ำหวาน ชื่อ Coca-Cola คุณจะวางแผนยังไงให้บริษัทนี้มีมู,ค่า 2พันล้านในอีก 150 ปีข้างหน้า? โดยใช้แค่ 5 simple general notion และความรู้พื้นฐานหลากสาขาที่เรียกจากม.ปลาย?
· 1. เริ่มจาก Big No-Brainer Decision
o เราคงไปไหนไกลไม่ได้ ถ้าขายน้ำหวานที่ไม่มีเอกลักษณ์ เราจึงต้องทำให้ Trademark “Coca-Cola” แข็งแกร่ง
o จะมีมูลค่าหมาศาลแบบนั้นได้ ต้องขายได้ทั่วโลก ดังนั้นแล้ว น้ำหวานเราต้องขายได้ที่ atlanta , ทั่วอเมริกาก่อน จึงจะไปทั่วโลกได้ เราต้องสร้าง product ที่มันมี universal appeal ซึ่งแค่ความรู้พื้นฐานก็เพียงพอแล้ว
· 2. ใช้เลขช่วยประเมินว่าเป้าหมายนั้นทำได้มั้ย : ในปี 2034 น่าจะมีคนบริโภคน้ำหวาน 8 พันล้านทั่วโลก และคนน่าจะรวยขึ้นกว่ามากในปี 1884 , ผู้บริโภค 1 คนนั้นต้องกินน้ำอย่างน้อย 64 ounce /day (= 8 ounce/serving x 8 serving) , เราขอแค่น้ำหวานเรามีส่วนแค่ 25% ของการบริโภคน้ำทั่วโลก และมี market share 50% เราจะขายน้ำได้ 2.92 trillion 8 ounce-serving ในปี 2034 - เราขอกำไรสุทธิแค่ 4 cent/serving เราจะได้กำไร 117$ ในปีนั้น ซึ่งน่าจะเพียงพอทำให้ market cap เป็น 2 พันล้านได้
o คำถามคือ เราจะทำให้กำไร 4cent/serving ได้ไหม? ก็น่าจะได้ เพราะ 150 ปีมันไกลมาก เราสร้างน้ำหวานรสชาติเอกลัก คนทั่วโ,กรวยขึ้น เงินเฟ้อ และเทคโนโ,ยีที่จะมาลดต้นทุน ทั้งสี่ปัจจัยทำให้เป้าหมาย 4 cent/serving นั้นไม่น่าจะยาก ถ้าคิดว่าpurchasing power น้ำหวานในอีก 150 ปีข้างหน้านั้นจะขึ้นเป็น 40 เท่า ลอง revert แล้วจะได้ว่า 4 cet/seving นั้นเท่ากับ 0.1 cent/serving target ในปี 1884 เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ยากเลย
· 3. จะสร้างรสชาติที่เป็ฯที่ยอมรับทั่วโลกได้อย่างไร? เราต้องหาปัจจัยบวกต่างๆมาเพื่อให้ผลลัพมันมี lollapalooza result
o เราต้องทำให้ Trademark Coca-Cola นั้นสร้าง conditioned reflex ให้กับลูกค้า ให้ trademark มันเป็น Stimuli สร้าง Desired response – แล้วเราจะสร้าง conditioned reflex ได้ยังไง? ตำราจิตวิทยาเบื้องต้นบอกว่ามีสองวิธีคือ 1. Operant condition 2. Calssical conditioning และเมื่อเราอยากได้ effect เยอะๆ เราก็ต้องเลือกใช้ทั้งสองวิธี
§ 1. Operant condition : เมื่อทำแล้วเกิดผลดี ก็อยากทำอีก ในแง่นี้เราก็ต้องทำให้การบริโภคน้ำหวานเรานั้นสร้างความพึงพอใจแบบพิเศษ ที่เมื่อได้ลองแล้วก็อยากลองอีก ซึ่งมันก็ต้องหา product อื่นมาสู้ไม่ได้ – เราจะทำให้น้ำหวานเรามีอะไร ที่ทำให้คนบริโภคอยากกินได้บ้าง?
· 1. พลังงาน
· 2. รสชาติ รสสัมผัส กลิ่น : เราต้องสร้างที่เป็ฯอกลักษณ์ เพราะในตลาดมันมีกาแฟ ชา น้ำมะนาว น้ำผลไม้มากมายอยู่แล้ว
· 3. Stimulus : เช่นน้ำตาล คาเฟอีน
· 4. Cooling effect or Warming Effect : แน่นอนว่าเครื่องดื่มเย็นมันน่าจะดีกว่า เหตุผลเพราะเราพบโอกาสที่คนกินน้ำเย็นเพื่อสู่อากาศร้อนได้ง่าย และถ้าอากาศร้อน คนจขะกินนแยอะขึ้น
§ ถ้าเราสร้างผลิตภันที่ตอบดจทแล้ว จะป้องกันคู่แข่งไม่ให้เอา operant condition ที่เราสร้างมาไปเลียนแบบได้อย่างไร? เราต้องทำให้เกิด permanent obsession กับผลิตภันของเรา ให้เร็วที่สุด ทำให้มันแพร่ไปทั่วโลกให้เร็ซที่สุดให้ได้
§ 2. Pavlonian Conditioning : ซึ่ง effect เกิดจากเพียงแค่ mere association - เหมือนกับที่หมาของpavlov น้ำลายไหลให้กระดิ่ง เราจะทำให้ผู้ชายอยากได้น้ำหวานที่ถือโดยผู้หญิงที่เขาไขว่ขว้าไม่ได้ และเราจะไม่หยุดแค่นี้ จะใช้ทุกๆการเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ ให้ลูกค้าเชื่อมโยงน้ำหวานเรากับสิ่งที่เขาชอบ มันจะต้องใช้งบโฆษณามากมาย แต่มันจะมีประวิทธภาพ เพราะ economoie of scale ถ้าเราขยายได้รวดเร็ว ผิดกับคู่แข่งเราที่ยังชยายได้ช้าและจะมี disadvantage of scale
§ เรื่อง Pavlonian condition ทำให้เราต้องเลือกชื่อเท่ๆ เช่น Coca-Cola ทำให้สีเครื่องดื่มเป็นสีคล้ายไวน์ มากกว่าน้ำเชื่อม และเราจะอัดแก๊สไปเพื่อให้ผลิตภันฑ์มันเหมือนกับแชเปญรคาแพง รสชาตินั้นก็แน่นอนว่าต้องแตกต่างจากเจ้าอื่น เพื่อไม่ให้ใครมาก้อปไดเง่ายๆ
o นอกจากจะสร้าง conditional reflect แล้ว ตำราจิตวิทยายังมีบอกเราว่ามีปัจจัยอื่นๆที่จะช่วยได้ด้วย เช่น “Social proof tendency” ถ้ามีคนกินน้ำเราเยอะๆ คนอื่นๆก็จะกินตาม เราจึงต้องออกแบบฆาณาและโปรโมชั่นโดนไม่ลืมข้อนี้ด้วย
· 4. Logistic และ Distribution นั้นก็ง่ายๆ มีสองทางคือ 1. จ่ายหัวเชื้อน้ำหวานให้กับภัตตาคาร และ 2. ขายแบบสำเร็จรูป และเราจะทำทั้งสองอย่างเพื่อ lollapalooza result ,เราจะสร้างโณงงานผลิตน้ำหวานทั่วโลก ซึ่งมันมันไม่ต้องมีเยอะ แต่ส่วนขวดเปล่านั้นเราต้องการเยอะมาก ก็จะหา subcontractor ต่อไป เพื่อให้เรากำหนดราคาได้เอง
· 5. รสชาติน้ำหวานเรานั้นไม่สามารถเอาไปจดสิทธิบัตรหรือcopyright ได้ เราจึงต้องทำมันเป็นความลับมากที่สุด แต่ถึงแม้อนาคตวิทยาการจะก้าวหน้าจน food engineer นั้นลอกเลียนแบบรสชาติเราได้เหมือนเป๊ะ เขาก็จะตามเราไม่ทัน เพราะเราได้วางรากฐานเรื่อง strong trademark, always available worldwide distribution ไว้หมดแล้ว
· 6. สุดท้ายเพื่อให้มันสำเร็จลุล่วง เราจะคิดแบบ Revert ว่าไม่ควรทำอะไรบ้างที่จะนำไปสู่การรล่มสลาย คำตอบมี 4 ข้อ
o 1. เราต้องดูแลรสชาติไม่ให้มี aftertaste effect ที่ไม่พึ่งประสง และทำให้ลูกค้าเราหยุดดื่มขวดต่อไป
o 2. เราต้องห้าเสียความแข็งแรงของ trademark name ไปเลยแม้แต่น้อย เราต้องไม่ให้มียี่ห้อ “Cola ”อื่นเกิดขึ้นมาได้ แม้มันจะแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เพราะไม่งั้นมันจะได้ไม่คุ้มเสีย
o 3. เมื่อเราสำเร็จระดับหนึ่ง เราต้องระวังความอิจฉา ซึ่งอาจทำให้การดำเนินงานเราเขวไปได้ เราต้องอยู่แต่กับคุณภาพสินค้า โฆษณา และราคาที่สมเหตุสมผล
o 4. เราต้องไม่เปลี่ยนรสชาติผลิตภัรฑ์แบบทันทีทันใด แม้รสใหม่นั้นจะดีกว่าโดยใช้ blind test เพราะรสเก่าของเรามันติดลิ้นลูกค้าไปแล้วในระดับsubconscious มันอาจทำให้ลูกค้าผิดหวังและไม่กลับมาอีก (Deprival super-reaction rtendency) และอาจเปิดช่องให้คู่แข่งมา copy เรา
· จะเห็นว่าประวัติศาสตร์ของ Coca-Cola นั้นมีความต่างกันออกไป เพราะว่าเสียtrademark power (คำว่า Cola) และได้ให้ franshire บรรจุขวดที่ fixed syrup price จึงเสีย pricing power ไปม่าก แต่ถึงอย่างนั้นบริษัทโค้กก็ยังมีมู,ค่าตลาก 125 นล้าน และโตแค่ปีละ 8%ก็จะไปถึง 2 ล้านล้านในปี 2034
· ,มงัเกอร์บอกว่าคำอธิบายแบบเขชานั้น ไม่น่าจะออกมาได้จากเหล่านักวิชาการจิตวิทยาหรือธุรกิจ เนื่องจากวงาการวิชาการที่ขาดความ multidisciplinary synthesis และขาดการให้ความสำคัญกับ lollapalooza effect นั่นเอง
· นอกจากนั้นผู้บริหารที่รายล้อมไปด้วยคนเก่งๆจากโรงเรียนกฏหมายและธุรกิจ ก็ไม่เข้าใจหลักจิตวิทยาเบื้องต้น จนทำให้เกิดเหตุการณ์ความล้มเหลวครั้งใหญ่ของ “New Coke” ออกมาจนเกือบจะทำให้ธุรกิจเสียหายหนัก
Talk Five: The Need for More Multidisciplinary Skills from Professionals: Educational Implications (Fiftieth Reunion of Harvard Law School Class of 1948, April 24, 1998)
· มังเกอร์เริ่มด้วยคำถาม 5 ข้อว่า
o 1. มืออาชีพทั้งหลายนั้น ต้องการ multidisciplinary skill มากขึ้นหรือไม่
o 2. การศึกษาของเราเพียงพอหรือยังในการปลูกฝัง multidisciplinary skill
o 3. ในเหล่าผู้เชี่ยวชาญของ Soft Science , การศึกษาเพื่อ multidiscliplinary skill นั้นควรจะเป็นแบบไหนจึงจะธรรมชาติที่สุด
o 4. 50 ปีที่ผ่านมา Acedemia มาได้แค่ไหนแล้วในการจะทำให้ multidisciplinary skill ได้รับการถ่ายทอดมากที่สุด
o 5. จะออกแบบการศึกษาอย่างไรให้กระบวนการนี้รวดเร็วขึน
· 1. ก่อนจะตอบคำถามข้อนี้ ต้องมาย้อนคิดว่า อะไรทำให้มืออาชีพควรจะมี multidisciplinary skill
· Bernard Shaw เคยเขียนไว้ในบทประพันธ์ว่า ''In the last analysis, every profession is a conspiracy against the laity” – พวกอาชีพเฉพาะ เช่น หมอ ทนายความ นักบัญชี ได้ความร่ำรวยชื่อเสียงเงินทอง หลายๆครั้งก็มาจากการที่พวกเขาเอาเปรียบคนรากหญ้าธรรมดาๆ หรือกระทำการที่เอาเปรียบคนอื่นๆเพราะถือว่าตนมีอำนาจสูงกว่า
· แต่ Shaw เสนอว่าความเห็นแก่ตัวที่เหล่ามืออาชีพนั้นรับรู้ดี (Conscious) เป็นต้นตอหลัก มังเกอร์บอกว่าทีต้นตอที่สำคัญกว่า คือ subconscious mental tendency ของเหล่ามืออาชีพ ที่ส่งผลเชื่อมโยงกัน และทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ซึ่งมีตัวหลักในหมวดหมู่นี้สองตัวคือ
o 1. Incentive-Caused Bias : cognitive drift ที่คิดว่าอะไรดีต่ออาชีพพวกเขา ก็จะดีกับลูกค้า และโลกใบนี้
o 2. Man-with-hammer-tendency : รู้แต่วิธีคิดในมุมมองของสาขาตัวเอง
· multidisciplinary skill จึงทำให้เหล่ามืออาชีพมองภาพได้กว้างขึ้น ลดความมืดบอดจากกการมองโลกแคบและผลเสียของมันไป - ถ้า A คือ หลักการเจาะลึกในอาชีพนั้นๆ และ B คือ Big Idea ในหลากหลายสาขา ดังนั้นแล้ว A+B ก็ต้องมีประโยชน์มากๆ จึงไม่มีข้ออ้างใดเลยที่เราจะไม่เรียนรู้ B
· 2. การศึกษาเรายังห่างไกลจาก multidisciplinary อีกมาก เราเน้นเจาะลึกไปทางใดทางหนึ่ง ในขณะที่ปัญหาในชีวิตจริงนั้นมันเกี่ยวข้องกับหลักการมากมายในหลากหลายสาขาวิชา - ปัญหาเรื่อง "the fatal unconnected ness of academic disciplines” นั้นเป็นที่พูดถึงยอมรับมานานแล้ว เพราะการที่ต่างสาขาวิชาต่างแยกย้ายไปอยู่ในกะลาของตัวเองนั้น ขอบเขตความคิดมันจะยิ่งจำกัดและรับคนนอกน้อยเรื่อยๆ
· 3. อะไรคือ Big idea ของแต่ละสาขาที่จะนำมาสอน? ก้ต้องเป็ยสิ่งที่เป็นแก่นหลักของแต่ละสาขาวิชา แก่นที่บ่งเอกลักษณ์ของวิชานั้นๆ ดูว่าวิชานั้นเน้นความสำคัญเรื่องไหนสุด อะไรคือสิ่งชี้เป็นชี้ตาย ทำกำไร มีแรงจูงใจมากที่สุด(look where incentive for effective education are strongest) และผลลัพธ์ส่วนไหนที่ถูกตวงวัดมากที่สุด
o เช่น ในวิชาการบิน สิ่งที่เน้นที่สุดก็คือหลักความปลอดภัย และเราต้องการให้นักบินยืดหยุ่นให้มากที่สุด เราไม่ต้องการให้เชาตอบสนองต่อเหตุการณ์ X เพราะในหัวมีแต่ X model – เหตุนี้เราจึงมีหกปัจจัยหลักในการศึกษาคือ
o 1. ต้องรู้จักเรื่องต่างๆกว้างพอสำหรับ piloting
o 2. ทุกความรู้ที่สอนไปไม่ใช่แค่ทำข้อสอบ แต่ต้องเอามาประยุคใช้ในระดับ practical-based fluency ซึ่งจะเป็นในการแก้ปัญหาต่างๆทีเชื่อมโยงกัน (two or three intertwined hazards at once.
o 3. ต้องคิดได้ทั้ง forward และ Reverse ต้องคิดได้ว่าต้องการทำให้เกิดอะไร และต้องการเลี่ยงอะไร
o 4. การฝึกนั้นต้องปันส่วนกัน ว่าสกิลไหนที่ทำให้เขา minimize damage ได้มากสุด ก็จะได้รับความสำคัญมากสุด
o 5. Checklist routine คือสิ่งบังคับ
o 6. แม้ผ่านการฝึกฝนตอนแรกไปแล้ว ก็จะต้องฝึกเรื่อยๆผ่าน simulator เพื่อไม่ให้ disuse skill ที่จำเป็นสำหรับ rare event เสื่อมไป
o จะเห็ฯว่าทั้ง 6 ข้อข้างต้นนี้ ซึ่งจำเป็นในสายอาชีพแคบๆที่เสี่ยงสูง ก็น่าจะควรมีบรรจุในการศึกษาไว้ด้วย และเน้นนำไปประยุกต์ใช้ในสายอาชีพต่างๆ มันอาจจะดูเยอะ แต่ก็ไม่ได้เป็นไปไม่ได้ นั่นเพราะ
o 1. Concept ของ “All Needed Skills” ไม่ได้แปลว่าต้องรูปทุกอย่างดีแจ่แจ้ง แต่เราต้องการแค่ big idea ในแต่ละวิชาเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีเยอะมาก และไม่มีซับซ้อนเกินไป
o 2. ในระบบการศึกษาดีๆนั้น เราจะมีบุคคาลกรที่เก่งมากๆ และนักเรียนที่เก่งมากๆอยู่แล้ว
o 3. การคิดแบบมองมุมกลับ และใช้ checklist น้นไม่ได้ยากอะไรเลย
· 4. ในเมื่อแนวคิดเรื่อง Multidisciplinary มันไม่ยากเกินไป แล้วเหล่า soft0science education นั้นมีความก้าวหน้าแค่ไหนแล้วบ้าง? คำตอบคือ มันกำลังไปในทางที่ดีขึ้น และวงการนี้เริ่มเห้นข้อีมากขึ้นเวลาที่professor ในแต่ละสาขามาร่วมมือกัน หรือได้ credit มากกว่าในหนึ่งสาขาวิชาการ และมีการใช้หลัก “Take wwhat you wish” มากขึ้น เช่น กฏหมายก็นำความรู้ทางจิตวิทยามาช่วยในหลักเจรจาต่อรอง หรือ Behavioral Economics ที่นำหลักจิตวิทยามาช่วยอธิบายพฤติกรรมต่างๆ แต่วิธี Take what you wish นี้ก็มีจุดอ่อน เพราะหลายครั้งจะมีการหยิบเอาหลักการของศาสตร์อื่นมาโดยไม่มีที่มาที่ไป(Taking from more fundamental discipline without attribution) หรือเอาอันที่ม่ถูกต้องมาใช้ เช่น 1. การนำทฤษฎีของฟรอยด์มาใช้ในวิชาวรรณคดี 2. การเอาอุดมทางการเมืองแบบสุดขั้วมาผสมรวม 3. การนำ Hard-Form EMH มาใช้ในวิชากฏหมายหรือบริหารธุรกิจ
· 5. แล้วเราจะทำให้ soft science ไปถึงจุดหมาย multidisciplinary เร็วขึ้นได้อย่างไร?
o 1. หลายๆหลักสูตรนั้นต้องบังคับ ไม่ใช่วิชาเลือก และเราต้องมีคนออกแบบหลักสูตรดังกล่าวที่มีความรู้หลากสาขาและชำนาญจริงๆ เช่น การเรียนกฏหมายก็ควรมีการสอนเรื่องจิตวิทยาและบัญชีแบบบังคับด้วย
o 2. ควรมีการฝึกฝนแก้ปัญหาที่ทำให้ต้องใช้ความรู้จากหลากสาขา เหมือนการฝึกนักบิน เช่น เขาเคยเห็นโจทย์ในบริหารธุรกิจอันหนึ่ง ความว่า มีผู้หญิงแก่ไม่เจนโลกไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร ได้รับมรดกตกทอดเป็นโรงงานผลิตรองเท้าแบรนด์ดัง แต่ธุรกิจที่ได้มานั้นมาพร้อมปัญหาหนักๆ ที่คาราคาซังมามากมาย ตามรายการที่ได้แจกแจงไว้ ตำถามคือนักเรียนจะแนะนำหญิงแก่สองคนนี้อย่างไรบ้าง? เกือบทุกคำตอบนั้นได้คะแนนไม่ดี แม้จะเขียนอย่างยืดยาวละเอียดถูกตามทฤษฎีแค่ไหน มีเพียงคำตอบเดียวที่ เป็นคำตอบสั้นๆ ที่อาจารย์ให้คะแนนดี คือ ด้วยความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจต่อ และค่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้บริหารจัดการต่างๆ มันอาจจะยากสำหรับหญิงแก่ไม่เจนโลกมากๆ ที่จะแก้มันให้ได้ ทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการขายกิจการ ซึ่งก็น่าจะมีคู่แข่งเตรียมซื้อยู่ – ดังนั้นแนวทางตอบปัญหาข้อนี้จึงไม่ใช่การใช้ความรู้ทางการบริหารธุรกิจ แต่เป็นขิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
o 3. มหาวิทยาลัยดังๆนี้ควรจะใช้พวกนิตยสารธุรกิจดีๆ เช่น WSJ, Forbes มาใช้เสริมทักษะ multidisciplinary skill ให้ความรู้ใหม่ๆ และเพื่อทวนความรู้
o 4. การหาตำแหน่งอาจารย์หน้าใหม่ๆมานั้น ควรหลีกเลี่ยงอาจารย์ หรือ นักศึกษา ที่มีอุดมการณ์แรงกล้ามากเกินไป เพราะ multidisclipinary นั้นต้องการ objectivity ระดับหนึ่ง หากอาจารย์หรือนัศึกษานั้นอินกับอุดมการณ์สุดขั้วมากไป ก็จะถูกอคติบดบังไปเยอะ และพลาดโอกาส synthesis มุมมองต่างๆ
o 5. Soft Science ต้องทำตาม fundamental organizing ethos of hard science ด้วย คือไม่ใช่แค่จะนึกหยิบจับอะไรมาก็ได้ (Take what you wish) มามั่วๆ แต่ต้องเรียนรู้ simple basic idea แบบจริงจัง หยิบไอเดียมาแล้วต้องมีการอ้างถึง และถ้ามันมีสิ่งที่ fundamental กว่า idea เรานั้นก็ต้องให้credit ด้วย
· ทั้งหมดนี้ เขาต้องการแสดงว่าการที่เหล่า soft-science domain นั้นยังมุ่งแต่ unidisciplinary skill จะเป็นการเสียเปรียบ เรื่องที่เขาพูดไม่ใช่อะไรใหม่เลย ถูกพูดถึงมานานแล้ว แต่ตอนนี้ปัญหามันก็ยังอยู่
Talk Six: Investment Practices of Leading Charitable Foundations (Speech to the Foundation Financial Officers Group at Miramar Sheraton Hotel, Santa Monica, California, October 14, 1998)
· ตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว องกรการกุศลขนาดใหญ่ก็จะลงทุนเฉพาะตราสารในประเภท โดยไม่ใช้หนี้ (unleveraged) แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มันซับซ้อนขึ้น บางองกรพยายามทำตัวเป็น Fund of funds และมีการว่าจ้างมืออาชีพหัวกะทิมามากมายเพื่อการบริหารจัดการแบบขั้นสุดยอด เราได้ consultant ที่จ้าง consultant และ ไปจ้าง analyst มากมายจาก investment bankมาวิเคราะห์อีก นั่นแปลว่าค่า commission ค่า Fee มหาศาล ซึ่งมาจากเงินบริจาค
· ช่วงที่ผ่านมานั้น การจ้างมืออาชีพเหล่านี้มาบริหาร ให้ผลตอบแทน 17% ค่าธรรมเนียมคิดเป็นประมาณ 3% แต่ไม่มีทางที่มันจะไปได้ตลอด หาก gross return ของ indexed investment ตกมาที่ 5% แต่ค่าธรรมเนียมยังเหมือนเดิม นั่นแปลว่ารายได้จะหดตัวมหาศาล – แต่แน่นอนว่าเวลาไปจ้างพวกมืออาชีพ เขาก็จะบอกว่าตัวเองดีกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งมันคือ overconfidence
· มังเกอร์แนะนำให้มู,นิธิทั่วๆไปลงทุนในดัชนีหุ้น เพื่อตัดค่าบริหารต่างๆออกไป แม้มันจะไม่work well forever แต่ก็จะworkเป็นเวลานานพอ หรือ มูลนิธีอาจลงทุนในไม่กี่บริษัทก็ได้ มันไม่ได้ผิดเลยที่จะ concentrate การลงทุนไว้ในหุ้นไม่กี่ตัว (เช่น ลงทุนในหุ้นโค้ก 90% ของเงินทั้งหมด) บางบริษัทนั้นทำประโยชน์ให้สังคม (จากตัวธุรกิจเอง) มากกว่าที่มู,นิธีจะทำได้เสียอีก
· ข้อเสียอีกอย่างที่เขานึกได้ ที่เหล่ากองทุนการกุศลต่างๆชอบการลงทุนแบบจ้างมืออาชีพมาเยอะๆนี้ คือ กิจการ money making มันดึงดูดเหล่าเยาวชนมันสมองดีๆมาในวงการที่เย้ายวนด้วยเงินตรานี้มากเกินไป จนพวกเขาไม่ได้ไปทำงานอื่นที่ provide คุณค่าให้คนอื่นๆ (เหมือน munger ในช่วงแรกๆของชีวิต)
Talk Seven: Breakfast Meeting of the Philanthropy Roundtable November 10, 2000
· Wealth Effect เป็นคำในเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมังเกอร์ไม่เคย take course แต่อาศัยเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่เขาสรุปเองว่าเหล่านักวิชาการนั้นยังให้ความสำคัญกับ Wealth effect ของ Common stock ไม่พอ
· เมื่อมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ราคาหุ้นก็จะขึ้น และราคาหุ้นที่ขึ้นก็ไปdrive การจับจ่ายมากไปอีก และเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปนั้น corporate earning ก็จะขึ้นได้ แม้จะขายของได้เท่าๆเดิม จากการลด pension cost ดังนั้นแล้ว wealth effect จึงdeal กับปัญหาทางคณิตศาสตร์มากมายและไม่แน่นอน ไม่เหมือน physics
· Wealth effect จากราคาหุ้นในเมกาที่ขึ้นเรื่อยๆนี้ มีประเด็นน่าสนใจสองเรื่อง
o 1. ไม่เคยมีเกิดขึ้นมาก่อนที่ราคาหุ้นขึ้นเร็วกว่าอัตราของ GNP ดังนั้น wealth effect จึงต้องมากก่วาที่เคยมีมา
o 2. สิ่งที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจาก Wealth effects in reverse - ราคาหุ้นและอสังหาที่พุ่งขึ้นมหาศาล ร่วมกับเศรษฐกิจที่โตไวกว่าสหรัฐ ก็ตกลงเมื่อมีฟองสบู่ แต่หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ได้ใช้วิธีตามตำรา คือตั้งงบขาดดุลและลดดอกเบี้ยเกือบ = 0 มาอย่างยาวนาน เศรษฐกิจก็ยังไม่ไปไหน เพราะคนญี่ปุ่นก็ยังไม่ยอมจับจ่ายใช้สอย ราคาหุ้นไม่ไปไหนเลย ซึ่งก็หวังว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นลักษณะเฉพาะของระบบสังคมและนิสัยคนญี่ปุ่นเท่านั้น
· หุ้นสหรัฐมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจมากขนาดไหน? ข้อมูลของ FED บอกว่ายังไม่เยอะมาก เมื่อเทียบกับมู,ค้าhousehold net worth ซึ่งยังมากกว่ามู,ค่าหุ้นทั้งหมด 3 เท่า – นักวิเคราะห์จะบอกว่า ถ้าให้ average household spending เพิ่ม 3% ของ asset value , consumer spending จะเพิ่มน้อยกว่า 0.5% ต่อปี
· แจ่มังเกอร์ชเอว่าข้อสรุปนี้ผิดจากความเป็นจริง เพราะว่า
· 1. Data ที่ Fed ใช้วิเคราะห์นั้นไม่รวมผลกระทบจาก pension effect – สมมติว่ามีคนเกษียนคนหนึ่งที่มีหุ้น GE มู,ค่า 1 ล้านและราคามันขึ้นมาเป็น 2 ล้าน คนเกษียนคนนั้นอาจจะขายรถคันเก่าไปหารถหรูๆคันใหม็ได้ ซึ่งนี่มันคือ wealth effect แน่นๆ เพราะเขาจะจ่ายมากขึ้นจาก pension-related wealth effect จึงม่สมเหตุผลที่จะไม่คิด pension plan ใน wealth effect
· 2. Traditional Thinking ของเศรษฐศาสตร์นั้นละเลยคำว่า “Bezzle” ซึ่งเป็นคำที่นักเศรษฐศาสตร์ John Kenneth Galbraith ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวย่อของคำว่า “Undisclosed Embezzlement” เขาเสนอว่าหากการยักยอกเงินไปใช้โดยที่เจ้าของไม่รู้นั้นเป็นการกระตุ้นการใช้จ่าย เพราะคนที่ขโฒยเงินมาก็จะรีบจ่าย และคนที่ถูกขโมยเงินจะจ่ายเหมือนเดิมเพราะไม่รู้ว่าเงินหาย - แน่นอนว่าคนที่คิดคำนี้ไม่ได้ผลักดันแนวคิดนี้มากนัก แต่ถ้าเราจะลองผลักดันแนวคิดนี้อีกขั้นหนึ่ง เราจะพบว่ามันมี Keynesian multiple effect (เหมือนกับที่รัฐบาลพิมเงินมาแล้วเงินหมุนในระดับมากขึ้นเป็นวีคูณ) – แต่แน่นอนว่ามันไม่เหมือนกับรัฐบาลพิมเงิน เงินที่ยักยอกมานั้นโตไม่ได้มาก เพราะเมื่อโจรถูกจับได้ ทุกอย่างก็กลายเป็น 0 - มันจึง drive เศรษฐกิจขึ้นไปเรื่อยไม่ได้
· มังเกอร์เสนอคำว่า “Febezzlement ” (functional equivalent of bezzle) – คือการที่พวกกองทุนจัดการคิดค่าบริหารทรัพสินปีละ 3% ในขณะที่หุ้นก็ยังขึ้น (โดยสภาพตลาด อาจไม่ค่อยเกี่ยวกับฝีมือ) นั้นเป็นการผลาญเงินของเจ้าของเงิน แต่เจ้าของไม่รู้ตัวว่าเสียเงินส่วนนี้ไปกับอะไรไม่รู้ เพราะหุ้นมันยังขึ้นอยู่ ส่วนคนบริหารกองทุนก็คิดว่ามันเป็นรายได้ที่สมเหตุสมผลแล้ว ดังนั้นค่า Fee ที่หักไปนั้น ก็เหมือนกับเจ้าของเงินที่ถูกยักยอกทรัพย์ไปนั่นเอง
· Common Stock นั้นถูกประเมินค่าทั้งแบบbond คืออิงตาม future cash flow และส่วนหนึ่งอิงเหมือนรูปวาด ที่ซื้อขายกันเพราะราคามันขึ้น และเก็.ว่าจะมีคนมาซื้อมันแพงกว่าเดิม ลองคิดดูว่าจะเกิดอะไรให้ หากกองทุนใหญ๋ๆ กองทุกเพื่อการเกษษียรนั้นเอาเงินทั้งหมดไปลงทุนในรูปวาดโฐราณ? สุดท้ายแล้วทันจะชิบหายกันหมดหรือไม่? หรือหางิน50% ไปเก็งกำไรรูปวาด จะชิบหายเหมือนกันไหม? สถานการเราตอนนี้เหมือนเงินถูกนำไปเก็งกำไรรูปวาดหรือไม่?
· สมมติ่ว่าอีก 6 ปีข้างหน้า ราคาหุ้นขึ้นมา 200% โดยที่ corporate earning ไม่เพิ่มเลย ค่าจัดการการลงทุนก็ยังจะมากขึ้น การที่ earning เท่าเดิม แปลว่าเจ้าของและผู้ถือหุ้นไม่ได้เงินมากขึ้น แปลว่ารายได้ย้ายไปอยู่ในพวกที่จัดการเงินทุนมากขึ้น และ เจ้าของบริษัทจึงจะได้เงินเพิ่มก็เมื่อ ออกหุ้นเพิ่มทุน หรือ เจ้าของหุ้นจะได้เงินเพมื่อ ขายหุ้น ทั้งสองอย่างหลังนั้นก็การสร้าง “New money ” นั่นแปลว่าราคาหุ้นมันก็ต้องคาดว่าจะขึ้นเร่อยไม่จบสิ้น ซึ่งสำหรับมังเจอร์แล้วรูปแบบนี้มันเหมือนกับ ส่วนผสมของ
o 1. คาสิโน
o 2. Ponzi-like Scheme เหมือนตลาดงานภาพวาด
o 3. ฟองสบู่ของการเก็งกำไร รอวันแตก
· ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไร มันไม่ดีกับ capital development ของประเทศอเมริกาแน่ๆ
Talk Eight: The Great Financial Scandal of 2003 (An Account by Charles T. Munger, Summer 2000)
· มังเกอร์เล่าถึงบริษัทในจินตนาการชื่อ Quant Tech ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้มาตราฐานทางบัญชีปกคิมาโดยตลอด แต่สุดท้ายบริษัทก็ล่มสลายด้วย Employee Stock option
· ในปี 1982 บริษัทมีmarket share อันดับหน่ง มีกำไร 100 ล้าน รายได้ 1000 ล้าน ต้นทุนส่วนใหญ่นั้นคือค่าจ้าง ซึ่งคิดเป็น 70% ของ revenue ( 30% คือเงินเดือนฐาน 40% คือ inventive bonus ที่ใช้ระบบเฉพาะตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา) ค่าตอบแทนทุกอย่างจ่ายด้วยเงินสด ไม่มี stock option เพราะเจ้าของบริษัทบอกว่ามันเป็น accounting treatment ที่อ่อนแอ โกงได้ง่าย และไม่ได้เป็นธรรมกับคนที่ผลงานดีก็ควรได้เงินโบนัสดีกว่า
· แม้ไม่มี stock option เหล่าลูกจ้างก็รยเพราะซื้อหุ้นบริษัทตั้งแต่ช่วงแรกๆ ซึ่งเจ้าของก็คิดไว้แล้วว่าถ้าคนฉลาดพอก็สามารถเลือกวิธีลงทุนได้อยู่แล้ว และก็รู้อยู่แล้วว่าหุ้นนบริษัทตัวเองมันดีหรือไม่
· เจ้าของเดิมตายไปปี 1982 บริษัทไม่มีหนี้ มีเงินสดมือ 500 ล้าน (ก่อนหน้านี้ไม่ปันผลเลย) ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรใหญ่ๆ ก็คาดว่ารายได้จะโตปีละ 20% ในอีก 10 ปี โดยสัดส่วนกำไรที่ 10% งคงไว้ได้ ซึ่งตอนนี้หุ้นซื้อขายกันที่ PE 15 เท่า คิดเป็น markt cp 1.5 พันล้าน ซึ่งมองว่า undervalue มากๆ แต่หุ้นอื่นๆก็ขายประมาณนี้ เพราะ interate rate สูง
· ด้วยความที่ market cap ต่ำเตี้ยขนาดนี้ ทำให้ Board ไม่พอใจมาก ซึ่งถ้า board มีสมองหน่อย ก็จะซื้อหุ้นคืนแบบจัดหนักจากเงินสดในมือและยืมเงินมาซื้อ แต่กลับเลือกวิธีไปจ้าง CEO และ CFO จากอีกบริษัทที่มี stock option plan และมี PE สูงงกว่า
· ผู้บริหารใหม่พบว่าบริษัทนี้ไม่สามารถทำให้รายได้โตได้เร็วกว่านี้แล้ว และไม่สามารถลดต้นทุนบุคลาการได้ เพราะวัฒนธรรมองกรณ์มันเข้มแข็งและเวิร์คมากๆ เขาเลยใช้วิธี “Modern Financial Engineering” เพื่อ speed up earning
· เนื่องจากกฏหมายแปลกๆของอเมริกา ที่บอกว่า stock option นั้นไม่คิดเป็น compensation expense และจากเดิมที่เงินโบนัสคิดเป็นค่าใช้จ่าย 40% ของรายได้ทั้งหมด CFO จึงเห็นช่องทางเพิ่มกำไรนี้ โดยดัดแปลงบัญชีบันทัดค่าโบนัสนี้ให้กลายเป็นค่า stock option – เท่านี้ก็เพิ่มกำไรได้เป็น 500 ล้านในปี 1982 แล้ว! แต่แน่นอนคงไม่ทำทีเดียวทั้งหมด เขาคือจะเพิ่มกำไรเก๊ไปปีละน้อยๆ ให้แนบเนียนที่สุด ตั้งเป้าให้กำไรจริงและเก๊ะนี้โตที่ 20% ต่อปี ไป 20 ปี
· แผนการนี้ไปได้ส่วย กำไรงดงาม นักบัญชีบอกว่างบการเงินปกติ มีบางคนออกมาตั้งข้อสงสัยว่ามันดีเกินไป แต่พวกนี้ก็ถูกมองว่าบ้าทฤษฎี ไม่เข้าใจโลก และการเป็ยว่านโยบายไม่ข่ายปันผลนั้น ทำให้แผนการนี้เนียบเนียนไปอีก
· ในปี 2002 , Quant Tech มีกำไร 16 พันล้าน และรายได้ 47พันล้าน มีงเนสดมากขึ้น 85 พันล้าน ซึ่งด้วยพลังบางอย่างไม่ได้ก่อให้นักลงทุนคนไหนสงสัยว่าทำไมเงินสดมากขนาดนี้ มีรายได้แค่ 16 พันล้าน ส่วนmarket cap นั้นอยู่ 1.3 Trillion (PE 90)
· แต่ปี 2003 จุดจบก็มาถึง เพราะกำไรบริษัทโตได้จริงแค่ 4% เท่านั้น จึงไม่มีทางที่จะทำให้นักลงทุนไม่ผิดหวังแล้ว ความผิดพลังทำให้เกิดการเทขายหุ้น จนตกลงไป 50% และราคาที่ตกลงขนาดนี้ทำให้หลายๆคนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จนมีคนหาจุดผิดเจอว่ามีการปลอมแปลงบัญชีมาเนิ่นนาน ทำให้ราคาหุ้นตกไปอีกเหลือเพียง 10% จาก Peak - และมันสร้างกะรแสแห่เทขายหุ้นบริษัทอื่นๆที่มี culture บัญชีแบบ QuantTech ด้วย จนตลาดหุ้นทั้งตลาดตกระนาว
Talk Nine: Academic Economics: Strengths and Faults after Considering Interdisciplinary Needs (Herb Kay Undergraduate Lecture University of California, Santa Barbara Economics Department, October 3, 2003)
· ในบรรดา Soft Science ทั้งหลายนั้น มังเกอร์บอกว่า Economics เป็น Queen of the soft science และมันน่าจะทำได้ดีกว่าสาขาอื่นๆ ใน Soft Science ในแง่ของ multidisciplinary stuff แต่มังเกอร์มองว่าเศรษฐศาสตร์ก็ยังล้มเหลวอยู่
· แล้วเขาที่ไม่ได้จบปริญญา economics กล้ามาพูดเรื่อง นี้ได้ยังไง? คำตอบคือเขามี Black Belt of Chutzpah ตั้งแต่เกิด! และจากประสบการณ์ที่ BRK และ ประสบการณ์การศึกษาของเขาเองนั้น ก็ให้ Economics insights ที่น่าสนใจ
· 1. BRK ซึ่งเริ่มจาก Market cap 10 ล้าน กลายมาเป็นแสนล้านใน 40 ปี มีนักเศรษฐศาสตร์ Nobel Prize คนหนึ่งอธิบายความสำเร็จของเราไว้ว่า 1. เราชนะตลาดได้เพราะโชคล้วนๆ เพราะไม่มีใครสามารถชนะตลาดยาวนานแบบเราได้ ถ้ามี ก็คือโชคล้วนๆ ความคิดนี้มาจากเรื่อง Hard form of efficienct market theory ซึ่งเป็นที่นิยมสอนในหลักสูตรขณะนั้น ตอนแรกเขาบอกว่าเราชนะตลาดได้ 1SD (Sigma) of Luck เวลาผ่านไปเราชนะได้ 2 SD … 3SD… 4SD จนถึง 6SD จนนักเศรษฐศาสตร์คนนั้นทนไม่ไหว กลับลำ 180 องศา แล้วบอกว่าเราเป็น 6 SD of Skill – สิ่งนี้อธิบายถึงข้อเขียนหนึ่ง ที่มาจากการสังเกตของ Bnjamin Franklin ที่ว่า “If you would persuade, appeal to interest and not to reason” ถ้าอยากเปลี่ยนใจใคร ให้ชักจูงด้วยผลประโยชน์ ไม่ใช่เหตุผล เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งเขาเคยถามหมอตาที่สถาบันโรคจักษุชื่อดังแห่งหนึ่ง ว่าทำไมยังใช้วิธีโบราณในการรักษาต้อกระจก หมอคนนั้นบอกว่าเพราะมันเป็นวิธีที่สอนได้ (It’s such a wonderful operation to teach) ซึ่งภายหลังหมอคนนั้นก็หยุดใช้วิธีนี้ เพราะผู้ป่วยทุกคนไม่เห็นด้วย - ที่ BRK เราไม่เคยสนใจเรื่อง hard form of efficient market theory ไม่สนใจเรื่อง Capital asset pricing model (ซึ่งเป็นลูกของมันอีกที) แต่ก็มีบาวงคนที่เชื่อวิธีพวกนี้และใช้มันแล้วได้ผลจริงๆ ทำให้ความเชื่อเหล่านี้แพร่กระจายมาก
· 2. เรื่อง Personal Education History นั้นน่าสนใจเพราะมันเริ่มด้วยความขาดและความแปลก จนมันสร้างข้อดีให้เขา ตั้งแต่เด็กๆนั้นเขาก็ชอบเสาะหาความรู้ของหลายๆแขนงอยู่แล้ว (Extreme multidisciplinary of mind) เขาทนไม่ได้ที่จะอยู่แต่กับ Small idea ในสายวิชาที่เรียน ในขณะที่มันมี big idea มากมายเด่นชัดอยู่ในสาจาอื่นๆ เขาจึงพยายามศึกษา Big idea จากศาสตร์ต่างๆที่คิดว่ามัน work ไม่มีใครสอนเขาว่าควรทแบบนี้ แต่เขาเกิดว่าด้วย huge craving of synthesis ถ้าเขาล้มเหลว เขาก็จะพยายามทำมันจนสำเร็จ
· สมัย WWII ที่เขาจับพลัดขับผลูไปเรียนที่ CalTech และได้เรียนฟิสิกส์เบื้องต้นนั้น เขาได้เรียนรู้หลักการ “the Fundamental Full Attribution Ethos of Hard Science” ซึ่งมีประโยชน์มากๆ หลักการนี้บอกว่า คุณต้องรู้จักทุกๆ big idea ในทุกศาสตร์ (Discipline) ที่ fundamental กว่าศาสตร์ที่คุณสนใจ คุณไม่สามารถให้คำอธิบายใดๆ ที่จะ fundamental กว่าวิธีที่ fundamental ที่สุดได้ และคุณต้องอ้างถึง most fundamental idea ที่คุณจะใช้เสมอ เช่น ถ้าคุณกำลังใช้ฟิสิก คุณต้องบอกว่าคุณใช้ฟิสิก ชีวะก็ต้องบอกว่าใช้ชีวะ ซึ่งหลักการนี้ตัวมังเกอร์เองทำมาทำเป็น organizing system for his thought และมันยังใช้ได้ดีกับ soft science อีกด้วย
· ความเข้มข้นของ ethos นี้ใน Hard science มีตัวอย่างเช่น ในฟิสิกส์ มีค่าคงที่หนึ่งขื่อ Boltzmann’s constant ซึ่งความน่าสนใจคือ Boltzmann ไม่ได้เป็นคนค้นพบมันคนแรก แต่ Boltmanz เป็นคนที่ derive the constant from basic physics in a more fundamental way มากกว่าชายไม่ทราบชื่อที่พบค่าคงที่นี้ก่อน แต่ใช้ less fundamental way จะเห็นได้ว่า Ethos ดังกล่าวใน hard sciece นั้นเช้มช้นมาก คือจะพยายามทำให้ทุกอย่างให้ fundamental ที่สุด ไม่สนใจว่าจะมีใครเคยพบมันก่อน
· Strengths ของ Academic economics ในมุมมองของมังเกอร์
· 1. มันมาถูกที่ถูกเวลา เพราะ 200 ปีที่ผ่านมา ด้วยเทคโนโลยีต่าๆทำให้ GDP ของโลกนั้นโต 2% แบบทบต้น ต่างกับหลายพันปีก่อนหน้านั้นที่โตแบบเลยเลขศูนย์เล็กน้อย economics จึงโตรวดเร็วท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้ ยิ่งหลัง communist ล่มสลาย Free market กลับมาเติบโต Economics ก็ได้รับผลกระทบด้านบวกไปอีก
· 2. โดยธรรมชาตินั้น Economics มัความ multidisciplinary มากกว่า soft science อื่นๆ และมันสามารถยื่นมือไปหยิบองค์ความรู้จากศาตร์ทีอื่นๆที่มันต้องการได้ เขาอ่าน Principle of microeconomics ของ Mankiw พบหลักการสำคัญๆ เช่น Opportunity cost , Incentives และ Tragedy of the commons model
· 3. Economics เป็นศาสตร์ที่ดึงดูดคนเก่งๆมามากตั้งแต่ต้น เช่น Adam Smiths , John Maynard Keynes คนในแวดวงก็มีปฏิสัมพันธ์กับ practical world มากกว่า soft science อื่นๆ มีคนดังๆในวงการณ์ได้แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาและมีบทบาทขับเตลื่อนประเทศจริงๆ
· แล้วอะไรที่ผิดไปใน Economics ? (What’s Wrong with Economics?)
· 1. Fatal Unconnectedness : สิ่งนี้นำไปสู่ Man-with-a-Hammer Syndrome ตัวอย่างเช่น เหล่านักวิชาการในแวดวงนั้น ไม่สนใจ model อื่นๆนอกสาขาเลย และไม่พยายามจะ synthesize พวกมันด้วย วิธีแก้ปัญหาชายถือฆ้อนนั้นก็ง่ายๆ เพียงแค่คุณต้องมี full kit of tool ไม่ใช่มีแค่ค้อน และคุณต้องมี Checklist อุปกรณ์ที่คุณมี เพราะเวลาที่คุณต้องการมัน มันจะไม่ pop เอง คุณต้องใช้ checklist เพื่อความครบถ้วน
o ปัญหาคนถือค้อนนี้มีอยู่ในทุกวงการ ไม่แว้นแต่แวดวงธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อน ที่ตัวมันเองพ่นเลขต่างๆออกมามากมายและคุณวัดมันได้ แต่ก็มีปัจจัยสำคัญอื่นๆที่สำคัญไม่แพ้กัน ที่วัดด้วยตัวเองไม่ได้ โดยทั่วไปคนจะมองว่าข้อมูลตัวเลขนั้นสำคัฐกว่า เพราะใช้สถิติช่วยได้ และ จะไม่นำสิ่งที่วัดด้วยตัวเลจไม่ได้(hard to measure stuff) มาคิดร่วมด้วย นี่คือความผิดพลาดที่เขาพยายามหลบหลีกมาทั้งชีวิต – ความหมกมุ่นเฉพาะในสิ่งที่คำนวณออกมาได้นั้น บางทีมันเหมือนการร่อนหาทองจากทรายริมแม่น้ำ แทนที่บางครั้งเราก็สามารถเดินไปอีกสักหน่อย ก็เจอทองแท่งให้เก็บแล้ว
· 2. Failure to Follow the Fundamental Full-Attribution Ethos of Hard Science
· หนังสือ textbook ของ Mankiw นำเรื่องต่างๆจากศาสตร์อื่นๆมาโดยไม่ให้ credit (Grab from other disciplines without attribution) เขาไม่ได้ label ว่า item ที่เขาหยิบมานั้น มาจาก physics , biology หรือ psychology แนวทางนี้ มังเกอร์ตั้งชื่อมันว่า “Take what you wish” ซึ่งมันดีกว่าไม่ทำเลย แต่ก็แย่กว่าการทำแบบ full attribution และ full discipline
· 3. Physics Envy
· คำนี้เลียนมาจาก Penis Envy ของ Sigmund Freud
· ตัวอย่างเหตุการณ์นี้ก็เช่น ที่ economics ได้รับเอา Hard-form efficient market theory มาประยุกต์ใช้ และพยายาม based reasoning ต่างๆ จากทฤษฎีที่ผิดจังๆแบบนี้ ก็จะได้ข้อสรูปผิดๆเต็มไปหมด เช่น บริษัทซื้อหุ้นคืนนั้นไม่make sense ใดๆ แล้วบังเอิญที่ปรึกษาด้านธุรกิจของ Washington post (ที่ราคาหุ้นขายที่ 1/5 ของ มูลค่าที่แท้จริง) ซึ่งเชื่อทฤษฎีที่เรียนมานี้อย่างเต็มที่ ก็แนะนำว่าบริษัทไม่ควรซื้อหุ้นคืน โชคดีที่ Buffett เป็นหนึ่งในกรรมการบริหาร จึงสามารถชักจูงให้บริษัทซื้อหุ้นคืนได้สำเร็จ และพิสูจน์โดยความมั่งคั้งของผู้ถือหุ้นในเวลาต่อมา
· ในมุมมองของมังเกอร์ Economics ควรหลีกเลียงปัญหาต่างๆจาก physics envy นี้ – Physics มี formula ต่างๆที่แม่นยำ พิสูจน์ได้ เช่น Boltzmann constant แต่สูตรลัษณะนี้มันหาได้ยากมากใน Economics และรังแต่จะเอาปัญหามาให้( นั่นคือ False precision) ถ้าพยายามจะหาสูตรสำเร็จแบบใน Physicsมากไป (ดังกรณีของ EMH)
· Economics จะดียิ่งขึ้นถ้าสนใจคำกล่างของ Einstein ที่ว่า “Everything Should Be Made as simple as possible, but no more simple” - ยิ่งถ้า false precision นั้นได้เข้าไปอยู่ใน Complex system มันสามารถสร้าง error ที่ compound เกิดความเสียหายร้ายแรง (munger อ้างถึง Laffer Curve)
· 4. Too Much Emphasis on Macroeconomics
· เขามองว่าที Macroecomics มักถูกให้ความสำคัญมากกว่า Microeconmoics นั้นเป็นเรื่องผิดพลาด เหมือนพยายามเรียนการแพทย์โดยไม่รู้ anatomy นอกจากนี้ microeconomics ยังสนุกกว่าและช่วยให้เข้าใจ macro ได้ง่ายกว่า เพราะ macro นั้นซับซ้อนกว่ามากๆ
· มังเกรอ์ยกตัวอย่างร้าน เฟอนิเจอร์ของเบิกไชน์ที่เปิดในเมือง Kansas ซึ่งถือเป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในเมืองและมียอดขาย 500 ล้านต่อปี ลานจอดรถ 3200 คัน เต็มแน่นเกือบทุกวัน คนล้นร้าน ถือว่าประสบความสำเร็จมากๆ โจทย์คือ จงอธิบายว่าทำไมร้านนี้จึงประสบความสำเร็จ? มังเกอร์อธิบายทีละ step แบบนี้ โดยใช้ความรู้ microeconoic เบื้องต้น
o 1.คุณคิดว่าร้านนี้เน้นขายของถูกหรือแพง? แน่นอนว่าต้องขายของถูก เพราะในเมืองบ้านนอกแบบนี้ คงเอาของแพงมาขายได้ยาก
o 2. ของในร้านมีให้เลือกเยอะไหม? แน่นอน ยอดขายมหาศาลเช่นนี้ ร้านขนาดใหญ่แบบนี้ มันย่อมมีของมากมายให้เลือก รวมแล้วมันจึงเป็น low price store with a big selection
o 3. แล้วทำไมก่อนหน้านี้ไม่มีใครคิดทำมาก่อน? แน่นอนเพราะว่าต้นทุนการเปิดร้านใหญ่ๆมันสูงมาก จึงไม่มีใครกล้าลงทุมาก่อน
· โจทย์ข้อที่สอง มีร้านขายยางรถร้านหนึ่งที่ค่อยๆประสบความสำเร็จในช่วง 50 ปีมานี้ ชื่อร้าน Les Schwab ซึงสามารถแข่งกับร้านใหญ่ๆเจ้าดังๆได้ เจ้าของแทรกข้ามาสู้เจ้าใหญ๋ๆได้ยังไง? เขาทำได้ยังไง?
o 1. ก่อนหน้านั้น ยางรถญี่ปุ่นไม่ได้มีมาขายเลย ภายหลังยอดขายมันโตมาก นั่นทำให้คิดได้ว่าร้าน Les Schwab น่าจะเกี่ยวข้องกับมันในช่วงแรกๆ (Catch the early wave)
o 2. หลัจากนั้น ร้านก็ทำสิ่งต่างๆได้ถูกมาตลอด เช่น Superpower of incentives , clever incentive structure driving his people, clever personnel selection system, Clever advertising
· สิ่งที่เขาทำนี้คือการใช้ simple search engine ในใจ ไล่ checklist และใช้ algorithm หยาบๆ เช่น Extreme Success likely caused by some combination of the following factors:
o A) Extreme Maximization or Minimization of 1-2 variables
o B) Adding Success Factors so that a bigger combination drives success (Often in non-linear fashion) เช่น concept เรื่อง breakpoint , เรื่อง Critical mass in physics สมมติมี mass เพิ่มอีกนิด ทุกอย่างก็จะเพิ่มอย่างเท่าทวีคุณ (Lollapalooza result)
o C) An Extreme of good performance over many factor :
o D) Catching and Riding some sort of big wave :
· เขาสนับสนุนให้ใช้เราแก้ปัญหาโดย cut-to-the-quick algorithm แบบนี้ และใช้มันทั้ง Forward & Backward
· 5. Too little Synthesis in Economics
· สาขาวิชานี้มี synthesis น้อยไปมาก ทั้งในแง่ synthesis กับวิชาอื่นๆ และภายในเอง
· ตัวอย่างเช่ย เขาเคยถามพวกนักศึกษาว่า ในเรื่อง Demand ans supply curves เมื่อราคาขึ้น ปกติแล้วจำนวนขายได้จะลดลง เราสอนกันมาแบบนี้ แล้วมันมีกรณีไหนบ้าง? ที่ราคาขึ้นแล้วจะขายของได้มากขึ้นด้วย?
· แน่นอน มันมีคนกล้ายกมือตอบ ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ เมื่อราคาถูกใช้เป็น indicator ว่ายิ่งแพงยิ่งดี ก็จะขายได้เยอะขึ้น - ประเด็นคือ นี่เป็นคำตอบเดียวที่เขาได้ (Luxury good) ไม่ว่าจะจากมหาลัยดังแค่ไหน ทั้งๆที่มันยังมีกรณีอื่นๆอีก ที่มังเกอร์มองว่าโลกความจริงเจอบ่อยกว่าด้วยซ้ำ! อย่างมังเกอร์ก็บอกว่า มีอย่างน้อย 4 categories ที่ตอบได้
o 1. Luxury Goods: ปรับราคาขึ้นเพื่อเป็นการ show-off ว่าของเราดี ผู้คนมักจะโยงว่าราคายิ่งแพงของยิ่งดี
o 2. Non-luxury good : มักเจอในผลิตภันณ์ที่ต้องการ high reliability แม้จะไม่ใช้สิ่งฟุ่มเฟือย แต่ราคายิ่งสูง คนก็จะแปลว่ามันยิ่งดี
o 3. กรณีที่ขึ้นราคาเพื่อได้ extra revenue มาทำให้ผลิตภันฑ์ดีขึ้น และระบบ sale system ดีขึ้น อย่างถูกกฏหมาย
o 4. แบบที่พบได้บ่อยและเป็นคำตอบที่มังเกอร์ชอบมากที่สุด - ขึ้นราคา เพื่อให้ได้ extra revenue ไปจ่ายส่วย จ่ายค่านายหน้า เพื่อปั๊มยอดขาย!!!
· วิธีที่ 4 ก็เช่นกรณีของผู้จัดการกองทุน ที่ขึ้นค่า commission จัดการกองทุน เพื่อเอามันไปจ่ายค่า Agent ให้ช่วยหาลูกค้าอีกที - ซึ่ง tactics นี้เขาไม่แนะนำให้เหล่านักศึกษาจบใหม่หันไปทำ เพราะแม้จะไม่มีกฏหมายห้าม แต่เรานั้นก็ไม่ควรเอาเวลาชีวิตไปขายสิ่งที่เราไม่มีวันซื้อ (Spend your life selling what you would never buy) แต่แน่นอนคุณก็เสี่ยงจะว่างงาน
· ปัญหาการไม่ synthesis ศาสตร์ความรู้นั้นคงไม่ได้เป็นเพราะว่าเรียนน้อยหรือหัวไม่ดี แต่คงเป็นเพราะเหล่าอจารย์ก็ไม่ได้ฝึกมาแบบนั้น มีนกล่าวว่า Economics Professors are most economical with ideas - พวกเขายึดกบัสิ่งที่เรียนมาไปตลอดชีวิต
· ตัวอย่างปัญหาเรื่องไม่ synthesis อย่างที่สอง คือเรื่องหลัก comparative advantage ของ David Ricardo และเรื่อง Pin Factory ของ Adam smith (คนงาน10คน ที่แบ่ง specialized labor กัน ผลิต pin ได้วันละ 48,000 ในขณะที่ ถ้าแต่ละคนทำทุกขั้นตอนเองหมด จะผลิตได้แค่ 200 ชิ้นต่อวัน) – ถ้าคุณมีความสุขกับการหาสิ่งที่ synthesis กันนั้น คำถามของคุณคือ สองหลักการนี้ synthesis กันมั้ย? คำตอบคือ ใช่ และมันสวยงามมาก ตัวอย่างเช่น BRK เคยมีบริษัท S&L ที่ให้เงินกู้แก่โรงแรมหนึ่งที่ตั้งอยู่ตรงข้ามบ่อนพอดี ไปๆมาเหล่าอันธพาลก็อยู่กันเต็มไปหมดจนไม่มีใครกล้ามาพัก โชคดีที่เราไม่ได้หันไปขอคำปรึกษาจาก Mckinsey หรืออาจารย์ใน Harvard (ซึ่งน่าจะเขียน report มาหนาเป็นปึกๆ) สิ่งที่เราทำก็แค่ ปักป้ายว่า “For sale or rent” มันทำให้เราเจอกับผู้ชายคนหนึ่งมาขอซื้อ และมาขอปรับลานจอดรถเป็นลานกอ์ฟเล็กๆ เราถามว่าเขาจะทำอะไร เขาบอกว่าเขาเป็น Agent นำคนแก่ๆจาก Florida มาเที่ยว Disneyland โรงแรมนี้มันอยู่ใกล้สนามบิน พวกคนแก่ไม่อยากออกไปไหนนอกโรงแรมอยู่แล้ว เราไม่ต้องการลานจอดรถ ขอสนามกฟอเล็กๆเท่านั้น – Deal นี้ได้ผลอย่างน่าอัศจรรย์ มันคือ interaction ของ Comparative advantage (การที่เราปักป้ายขายแล้วเจอชายคนนี้) และ Pin Factory (ระบบแปลกๆที่ชายคนนี้คิดขึ้น)
· Max Plank เคยคิดจะเรียน Economics แต่เขายอมแพ้ไปก่อน Max Plank ให้เหตุผลว่า Economcis ยากเกินไป คำตอบที่ได้มัน messy และไม่แน่น่อน ไม่เหมือนวิชาฟิสิก ซึ่งถ้าคนฉ,ดแบบนี้ยังบอกว่าวิชานี้ไม่ค่อยมีคำตอบที่แน่นนอนนั้น นักศึกษาที่จบมาก็คงสุดท้ายได้คำตอบไม่ต่างกัน
· 6. Extreme and Counterproductive Psychological Ignorance
· ชาลีให้โจทย์ว่า คุณเป็นเจ้าของcasino แห่งหนึ่ง casino นี้มีเครื่อง slot 50 เครื่อง หน้าตาเหมือนกันหมด มีกลไกการจ่ายเงินเหมือนกันหมด แต่มีอยู่เครื่องหนึ่ง ที่ไม่ว่าจะสับเปลี่ยนตำแหน่งยังไง ถ้ามีคนไปเล่นมันในช่วงท้ายของวัน มันก็ให้โอกาสชนะมากกว่าเครื่องอื่นๆ 25% - คำถามคือ เคร่องที่ให้โอกาสชนะมากกว่านี้ มีความแตกต่างจากเครื่องอื่นยังไง? - คำตอบคือมีคนมาเล่นเครื่องนี้มากกว่าเครื่องอื่นๆ เหตุที่คนมาเล่นเยอะ เพราะเจ้าของโปรแกรมให้เครื่องนี้มี ratio ของ Near miss (ตรงสองต่าง1) มากกว่าเครืองอื่นๆ ทำให้คนแห่มาเล่นกัน แม้ % ที่มันจะจ่ายเงินนั้นไม่ต่างจากเครื่องอื่นเลย – ซึ่งการที่คุณจะเข้าหาคำตอบในแนวจิตวิทยาเช่นนี้ได้ มันจะจ่ายกว่รามากถ้า Psychological factor ใน checklist หัวของคุณ
· 7. Too Little Attention to Second- and Higher-Order Effects
· ทุกผลของการกระทำ ย่อมมีผลอื่นๆตามมากอีกเสมอ (Consequences lead to another consequences and so on) มันจึงมีแต่ซับซ้อนมากขึ้น มังเกอร์เรียนรู้สิ่งนี้มาตั้งแต่ตอนเรียนพยากรณ์อากาศ แต่พอมาศึกษา economics แล้ว เขาบอกว่าอย่างแรกมันกระจอกไปเลย
· ตัวอย่างเช่น เหล่า Ph.D. ในเศรษศาสตร์เคยทำนายต้นทุนของกฏหมาย Medicare โดยใช้ Extrapolation ของต้นทุนในอดีตแบบดื้อๆทื่อๆ ซึ่งผลคือ ราคาต้นทุนที่ได้จากการทำนายนั้น ต่ำกว่าความเป็นจริงถึง 1000% เหตุผลนั้นง่ายมาก เพราะเพื่อออกกฏใหม่ incentive ต่างๆมันก็เปลี่ยนไป พฤติกรรมต่างๆก็เปลี่ยนไป ปัจจัยต่างๆก็เปลี่ยนไปมาก ยิ่งการแพทย์นั้นมีแต่จะวร้างอะไรใมห่ๆที่แพงขึ้นๆเรื่อยๆ ต้นทุนมันก็ไม่ใช้แค่จะ project จากต้นทุนอดีตได้ทื่อๆ - ทำไมเหล่า expert จึงพลาดเรื่องง่ายๆแบบนี้? คำตอบคือ พวกเขา oversimplify เพื่อให้ได้เลขที่คิดง่ายๆ ไม่ยอมเอาปัจจัยต่างๆมาคิดด้วย
· มังเกอร์ไม่ชอบ formal projection และไม่ยอมให้ใครทำมันให้ เขาเห็นมันตลอดเวลาแล้วอยากจะอ้วก ผู้คนเชื่อมันเหลือเกินไม่ว่ามันจะโง่แค่ไหน
· All human system are game , ด้วยเหตุทางจิตวิทยาที่ติดตัวมานั้น เราชอบเล่นเกมและหาลู่ทางที่เราจะได้เปรียบสุด นี่คิดสิ่งที่เกิดกับระบบ worker compensation ครั้งหนึ่งใน California ที่ไปๆมาๆ ทำให้ต้นทุนแรงงานขี้นเป็นเลขสองหลัก จากปกตืที่อื่นมันแค่ 2-3%? ถามว่าคนที่เล่นเกมและเอาเปรียบนั้นผิดมั้ย? ก็คงไม่ใช่ผิดที่สุด ผิดที่สุดคือคนที่คิดระบบให้มีการเล่นเกมกันง่ายๆ โกงกันง่ายๆ หรือทำให้เกิด inscentive ที่ยั่วยวนคนขี้โกง (คนคิดระบบอาจไม่มีเจตนา แต่ไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมาอันดับสอง สาม และอื่นๆ)
· หรือแม้แต่เรื่อง Comparative Advantage ของ Ricardo มันก็เป็นแค่การมองแต่ First-Order Advantage! สมมติค้าขายกับชาติที่ยังด้อยพัฒนา (แต่คนขยันและเก่ง) เช่นจีน ทฤษฎีบอกว่า USA จะมั่งครั่งขึ้นถ้าค้าขายกับจีน แต่ประเทศไหนหละจะโตเร็วกว่า? คำตอบคือจีน ซึ่งก็โอกาสจาก Free trade นี้ ดูดเอาเทคโนโลยีต่างๆมาด้วย ซึ่งสุดท้าย free trade จะทำให้จีนพัฒนายิ่งๆๆขึ้น จนอาจแซง USA ได้ - ไปๆมาๆแล้ว Free trade ตามทฤษฎีที่บอกว่าเมกาจะได้ประโยชน์กว่านั้น มองลึกลงไปก็อาจไม่จริงแล้ว
· 8. Too Little Attention within economics to the simplest and most fundamental principle of algebra
· Fundamental Principle ที่ว่านั้นก็คือ A=B , B=C ดังนั้น A=C – นักเศรษฐศาสตร์ในตำนาน John Galbraith เคยเผยแพร่ Idea ว่า ถ้าเกิดมีการยักยอกทรัพย์โดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่รู้ตัว มันจะทำให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะคนที่ถูกยักยอกทรัพบ์มาจะใช้เงินฟุ่มเฟือยเหมือนเดิม ส่วนคนที่ขโมยเงินมาก็จะเอาเงินไปใช้จ่ายมากขึ้น เกิด activity ทางเศรษฐกิจมากขึ้น - ซึ่งมันน่าทึ่งที่คนดังแบบนี้พลาดหลัก algebra เบื้องต้นไปได้ - เพราะสุดท้ายเมื่อมีคนพบว่าโดนขโมยเงิน effect ต่างๆมันก็จะ reverse และมันจะเหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น
· 9. Not Enough Attention to Virtue and Vice Effects
· Economics ทำให้อารยธรรมมนุษย์เจริญได้รวดเร็ว เข่นระบบ double-entry bookkeeping แต่ก็มีด้านลบมากมาย
· เช่นเรื่องความวุ่นวายจากบรรษัทภิบาลต่างๆของบริษัทระดับต้นๆของอเมริกา จากต้นตอกฏหมายที่ไม่หาหนทางแก้ให้ unfair compensation . ทั้งๆที่วิธีแก้ปัญหาบางส่วนนั้นง่ายมาก ลองคิดดูจะเกิดอะไรขึ้นหาก ทำให้เหล่า director เป็นผู้หุ้นใหญ่ และไม่ได้เงินค่าตอบแทนเลย? คุณจะพบว่าเหล่าผู้บริหารจะมีปัญหา unfair compensation น้อยลง เพราะเราลด effect ของ reciprocity tendency
· To function best, morality should sometimes appear unfair, like most worldly outcomes. ความปรารณนาต่อ perfect fairness นั้นทำให้มีปัญหาต่างๆตามมาใน system function ระบบบางอย่างก็ควรถูกออกแบบให้ unfair ต่อบุคคล เพราะมันจะ fair กับทุกคนในภาพเฉลี่ย ดังนั้นแล้วความไม่fair ที่เด่นชัดนั้น มันก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เช่น กฏของกองทัพเรือที่หากมีคนทำเรือเกยตื้น กัปตันก็จะถูกปลดทันที แม้จะไม่ใช่ความผิดของเขาก็ตาม กฏเช่นนี้ไม่แฟกับบางคน แต่มันส่งเสริมสวัสดิภาพของทุกคน
· Tolerating a little unfairness to some to get a greater fairness for all is a model I recommend to all of you
· Effect ความชั่วร้ายอีกอย่างของ Economics ก็คือฟองสบู่ หนึ่งในฟองสบู่ลูกแรกๆก็คือ south sea bubble ในประเทศอังกฤษ มีผลกระทบน่าสนใจหนึ่ง คือรัฐบาลสั่งแบนตลาดหุ้นไปสิบกว่าปี ซึ่งอังกฤษก็ยังโตได้แม้ไม่มีตลาดหุ้น
· อีก Effect ที่น่าสนใจคือความอิจฉา ความอิจฉาเป็นบาปที่ร้ายแรงดังในคำสอนของ Moses แต่ก็มีนักคิดที่บอกว่า ความอิจฉา เป็น driver ให้เกิดการใช้จ่ายในเศรษฐกิจ(Private vices are public benefit) นี่จึงเป็น Paradox in eceonmics
· “Better roughly right than precisely wrong” - ideas. If you can get really good at Destroying your own wrong ideas, that is a great gift.
Talk Ten: USC Gould School of Law Commencement Address (The University of Southern California May 13,2007)
· มังเกอร์มี Core Idea ที่เขามองว่า work และช่วยให้เขามาไกลในชีวิตได้ มันอาจไม่ perfect กับทุกคน
· 1. You want to deliver to the world what you would buy if you were on the other end. - คนที่ยคดถือหลักการนี้จะประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ใช่แค่เรื่องเงินทองและทรัพสินท์ แตยังเป็นความเคารพของผู้คน ความไว้เนื้อเชื่อใจ และเราจะมีความพึงพอใจในชีวิตมากขึ้นเมื่อเรามีความน่าไว้วางใจ – หกคุณรวยแต่ตายไปแล้วมีแต่คนรังเกียจ มันก้ไม่ใช่ชีวิตที่น่าพึงประสงค์เท่าไรห่
· 2. There’s no love that’s so right as admiration-based Love, and such love should include the instructive dead อย่าปล่อยให้ความรักแบบ toxic กัดกินคุณ
· 3. the Acquisition of Wisdom is a moral duty – คุณอาจไปไกลในชีวิตไม่ได้ถ้ายึดแต่ความรู้ที่เรียนมา คุณต้องมี lifetime learning เช่น ในกรณีของ BRK เอง เรามาไกลแบบนี้ไม่ได้ถ้าเราไม่พัฒนาต่อเนื่อง skill set ในทศวรรษหนึ่ง ผ่านไปอีกทศวรรษ มันอาจใช้ไม่ได้แล้ว คุณต้องเรียนรู้ Method of Learning – Warren เป็น continuous learning machine เขาใช้เวลาครึ่งหนึ่งแต่ละวันไปกับการอ่านหนังสือ อีกส่วนหนึ่งพูดคุย 1-1 กับคนฉลาดๆ ที่เชาเชื่อถือ
· 4. learning all the big ideas in all the big discipline - และ นำความรู้ต่างๆนั้น มาใช้ใน mental routine อย่างสม่ำเสมอ ฝึกฝนเหมือนนักดนตรี (ไม่ใช่แค่ท่องจำไปสอบ แต่ต้องเอามันมาใส่ mental latticework in your head and automatically use them in your life) มังเกอร์จึงใช้ชีวิตผ่านการคิดแบบ multi-disciplinary approach ตลอดเวลา มันทำให้ชีวิตสนุกขึ้น ช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้น และทำให้เขารำรวยมาก ข้อเสียเดียวของนิสัยนี้ คือบางครั้งคุณเจอว่า expert ในหลายๆสาขาวิชานั้นรู้น้อยกว่าคุณเสียอีก และคุณอาขรู้คำตอบที่เขาพลาดไป จนไปหักหน้าพวกเขาได้ ซึ่งมังเกอร์เองประสบปัญหานี้บ่อย เพราะเขาเก็ฐอาการที่แสดงว่าเขารู้มากกว่านายจ้างหรือที่ปรึกษาได้ไม่เก่ง ทำให้เขาเป็นคนที่ดูหยาบคายมากๆ และมันทำให้เชาลำบากกับงานทนายใช้ช่วงแรกองชีวิต เพราะกฏของ law firm นั้นคือ คณต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกฉลาดกว่าคุณ และทำให้senior partner ฉลาดกว่าคุณ หลังจากนั้นคุณอยากจะไปแสดงความฉลาดที่ไหนก็ได้!
· 5. problems frequently become easier to solve through “inversion” : โดยเฉพาะปัญหาที่ซับซ้อน การ reverse ปัญหาจะช่วยให้คิดได้ง่ายขึ้น เช่น หากคุณอยากช่วยประเทศอินเดีย คุณควรจะตั้งคำถามว่า จะทำร้ายประเทศอินเดียยไงไง คุณจะได้คำตอบว่าอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความเสียหาย และจะได้หลบหลีกมันไป ทั้งสองแนวทางนี้มันเหมือนกัน logically แต่คนที่ชอบ algebra จะรู้ว่าการคิดมุมกลับจะทำให้แก้โจทย์ยากๆได้ง่ายขึ้น โจทย์ชีวิตมันก็มีแง่มุมคล้ายโจทย์algebraเหมือนกัน , หากอยากรู้ว่าทำยังไงจะปรสบความสำเร็จในชีวิต ก็อาจคิดว่า ทำยังไงจึงจะล้มเหลวในชีวิต? คำตอบก็เช่น
o ความขี้เกียจ
o ความพึ่งพาไม่ไดด้
o ความมี extreme ideology จนสมองคุณมืดบอดไป ยิ่งคนหนุ่มไฟแรงนั้น ก็จะรู้สึกถูกดึงดูดไปสุดขั้วได้ง่าย ซึ่งมันอาจได้ไม่คุ้มเสียเลย - มังเกอร์มี Iron prescription ที่ช่วยป้องกันไม่ห้เขาอินไปกับ ideology มากเกินไป นั่นคือ เขาจะไม่ให้ความเห็นใดๆ จนกว่าเขาสามารถสร้างข้อถกเกียงต่อสิ่งที่เขาเสนอ ได้ดีกว่าคนที่อยู่ฝั่งตรงข้าม (I feel that Im not entitled to have an opinion unless I can state the arguments against my position better than the people who are in opposition)
o การคิดเข้าข้างตัวเอง (Self-serving bias) ที่เรามักจะแสดงออกโดยไม่รู้ตัว เช่น ใช้จ่ายเกินตัว ความอิจฉา ความแค้น ความเวทนาตัวเองจนเกินงาม (Self-pity)
o หลีกเลี่ยงการเอาตัวเข้าไปในระบบ (Perverse incentive system) – ระบบที่ยิ่งให้รางวัลคุณมากขึ้นถ้าคุณยิ่งทำตัวโง่ๆ เช่น ระบบที่ทนายต้องมี billable-hour อย่างต่ำ 2400 ชม. ต่อปี มังเกอร์มาองว่าเขาทนทำมันไม่ได้
o หลีกเลี่ยง Perverse associations – หลีกเลี่ยงการทำงานภายใต้คนที่คุณไม่ได้ชื่นชมและไม่อยากโตมาเหมือนเขา สิ่งนี้มันอันตราย เรานั้นไวต่อการถูกควบคุมโดยผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะถ้าผู้มีอำนาจคนนั้นเป็ฯคนให้ค่าตอบแทนหรือให้รางวัลเราด้วย การ deal ความยากลำบากนี้ต่องอดทน มังเกอกอร์ผ่านมันมาด้วยพยายาม identify ให้ได้ว่าเขาชื่นชมใครและพยายามไม่วิจารณ์ใครให้เสียหน้า เอาตัวไปอยู่ใต้กลุ่มคนที่น่าทำงานด้วย
· 6. Maximizing Non-Egality : ความไม่เท่าเทียมกันก็มีแง่มุมที่มีประโยชน์ เช่น อดีตโค้ชบาสเกตบอลอันดับ 1 ของโลก เคยตั้งระบบให้ผู้เล่นในทีม 5 อันดับต่ำสุดไม่มีโอกาสเล่นเลย เป็นแค่คู่ซ้อมกับผู้เล่น 7 อันดับแรกเท่านั้น ผลคือ top seven ได้เรียนรู้มากกว่า เพราะมีโอกาสเล่นเยอะกว่า และมันทำให้ทีมที่ใช้ระบบไม่เท่าเทียวกันนี้เก็บชัยชนะได้มากขึ้น นี่คือเกมชีวิต ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จสูงสุด มันคือหนทางเดียว ยิ่งคุณเก่งและขยันเรียนรู้ คุณยิ่งได้ประสบการณ์มากกว่าคนื่นๆ คนเก่งก็จะได้โอกาสดีๆเยอะขึ้นๆ - You do not want to choose a brain surgeon for your child by drawing straws to select one of fifty applicants, all of whom take turns doing procedures.
· 7. หลีกเลี่ยงเข้าหาผู้คนที่มี Chaffeur Knowledge : คือรู้แค่ผิวเผิน แต่พูเก่งน่าเชื่อถือ ไม่มีความรู้ที่แท้จริง คนพวกนี้มักตอบ next question ไมได้ ซึ่งมีคนจำพวกนี้อยู่มากในโลกการงาน
· 8. intense interest in any subject is indispensable if you're really going to excel in it : มังเกอร์เองก็ไม่สามารถบังคับตัวเองให้เก่งกาจในสิ่งที่เข้าไม่ได้สนใจจริงๆ
· 9. life is very likely to provide terrible blows. Unfair blows. : บางคนอาจไม่ฟื้นคืนจากแรงกระเทกนี้ได้ มังเกอร์ยกคำพูดของ Epicterus มาว่า บางครั้งความซวยก็ทำให้เราได้ปรับตัวเอง เรียนรู้สิ่งมีประโยชน์ใหม่ๆ เรามีหน้าที่อย่าจมอยู่กับ Self-Pity แต่จงนำความเจ็ฐปวดนี้มาก้าวต่อไป
· 10. In your own life, what you want to maximize is a seamless web of deserved trust.
Talk Eleven: The Psychology of Human Misjudgement (Three Combined Talk, Extensive Revision by Charlie in 2005)
· มังเกรอ์บอกว่าสิ่งที่เขาจะเสนอนี้ มองเผินๆคือการเปลืองตัวมากๆ เพราะเขาเองไม่ได้มี academic degree ด้านจิตวิทยาอะไร และเสี่ยงจะถูกล้อเลียนก็เป็นได้ แต่ก็ยังจะทำ ด้วยนิสัยที่ชอบหาจุดผิดพลาดของ conventional wisdom และส่วตัวเขามองว่าหลักจิตวิทยาที่เขาได้เรียนรู้มาตลอดชีวิต เอามาจัดเรียงเป็นระบบจิตวิทยาที่เขาคิดค้นขึ้นมาเอง และนำประยุกต์ใช้นั้น มันมีประโยช์มากจริงๆ และอยากจะทิ้งมันไว้ให้คนรุ่นหลังก่อนจากกไป
· วิธีพัฒนา Good Judgement ของเขานั้นผ่านกระบวนการหลักๆ สองอย่าง
o 1. เก็บรวบรวม Bad judgement แล้วคิดแบบ Invert เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยงมัน
o 2. เขาพัฒนาให้เก็บ bad judgment ได้อย่างชั่วพริบตา โดยไม่สนว่ามันจะเกิดในสาขาวิชาไหน เพราะมันไม่มีเหตุผลที่จะมางมหา bad judgement เล็กๆน้อยในสาขาตัวเอง ในขณะที่มี stupidity อันใหญ่ยักษ์ชัดเจนอยู่ในสาขาอื่นๆ
· เขาบอกว่าโชคดีมากที่เขาพึ่งมาอ่าน Textbook จิตวิทยาตอนแก่ๆแล้ว เพราะข้อเขียนในหนังสือมันมีแต่ collection การทดลองทางจิตวิทยา ที่ให้อารมณ์เหมือนเด็กชายเก็บสะสมผีเสื้อ คือเพื่อ show off และจะได้มีอะไรไว้คุยกันกับเพื่อนนักสะสม โดยไม่สนใจเรื่อง synthesis ไม่สนใจเรื่อง intertwined effect ของแต่ละ psychological tendency ด้วยซ้ำ เน้นอธิบายแยกๆกันไป เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามัน “ซับซ้อน” และสุดท้าย พวกเขาไม่สนใจว่ามันมี antidote ต่อข้อผิดพลาดทางจิตวิทยาต่างๆอย่างไร นี่คือสิ่งน่าสนใจที่สุดที่ไม่ค่อยจะ discuss กัน
· แต่ academic psychology ก็มีข้อดีบ้าง เช่นหนังสือ Influence ของ Robert Cialdini ที่มังเกอร์ชบอมาก และส่งมันให้ลูกๆทุกคนอ่าน - เรื่องตลกร้ายคือหนังสือนี้ผู้เขียนต้องการให้คนอ่านตกเป็นทาสการตลาดยากขึ้น แต่ไปๆมาๆกลับเป็นพวก saleman ใช้วิธีในเล่มมาหลอกลูกค้าเสียเอง
· ก่อนที่จะไปหัวข้อเรื่อง Misjudgement นั้น มังเกอร์จะเริ่มจากเรื่อง Social insects ก่อน – Social insects เช่น มด ผึ่ง มีเซลล์ประสาทแค่ 100,000 เซลล์ ต่างกับมนุษย์ที่มีหลายพันล้าน มดแต่ละคัวมี simple behavioral algorithm ไม่กี่รูปแบบ ซึ่งมาจากโปรแกรมใน genetics ของมัน มันเรียนรู้จากประสบการณ์ได้น้อยมากๆ เช่น เวลามีมดตายในรัง มดตายจะปล่อยฟีโรโมนออกมาให้มดเป็นแห่กันขนมันออกไป แต่มีการทดลองเอากลิ่นpheromoneไปทาไว้ในมดเป็น ผลคือมดเป็นตัวนี้ก็โดนเพื่อนมันขับไล่เหมือนกัน
· มนุษย์ก็เช่นกัน เราถูกหลอกได้ง่าย ไม่ว่าจะจากความตั่งใจของคนอื่นหรือจากเหตุบังเอิญ เรามี Quantum effect in human perception – ถ้าตัวกระตุ้นยังต่ำกว่า Threshold Level เราก็จะไม่รู้สึกอะไร เหมือนมายากลเสกให้เทพีเสรีภาพล่องหนได้ โดยให้ผู้ชมนั่งอยู่บนplatformที่กำลังหมุนแบบช้ามากๆ จนไม่มีใครรู้สึกว่ากำลังเคลื่อนไหวเลย หรือแม้สิ่งนั้นมันจะเข้ามาสู่ perception ของเราได้ เราก็จะไม่ได้รู้สึกแบบ absolute unit แต่รู้สึกแบบ Relatively เช่นการทดลองที่ให้เอามือจุ่มน้ำร้อน อีกมือจุ่มน้ำแข็ง แล้วเอาน้ำปกติมาราด คนหนึ่งจะรู้สึกว่าโดนน้ำเย็น อีกคนถูกน้ำร้อนราดใส่ เป็นต้น
· cognition is ordinary situation-dependent so that different situations often cause different conclusions, even when the same person is thinking in the same general subject area.
· มังเกอร์มีรายชื่อของ psychology-base tendency 25 รายการที่มัก mislead เราได้ง่าย นั่นคือ
1. Reward and Punishment Superresponse Tendency
· มังเกอร์คิดว่าคนทั่วๆไป รวมถึงตัวเขานั้นรู้ดีอยู่แล้วว่าผลประโยชน์แรงจูงใจต่างๆ (Incentive) นั่นมีผลกระทบต่อพฤติกรรมขนาดไหน (Incentives are superpower) แต่จริงๆแล้วเขาก็ยังประเมินมันต่ำไป ทุกๆปีจะมีเรื่องให้น่าทึ่งเสมอว่ามันมีพลังกว่าที่คิดมาก
· ตัวอย่างเคสที่เขาชอบมากสุดคือ FedEx ที่ทุกๆคืนแพกเกตของจะต้องมีการลำเลียงอบ่างรวดเร็วเข้าสู่เครื่องบินแต่ละเครื่อง ถ้าทำช้า ของจะdelay และจะกระทบความน่าเชื่อถือ ซึ่ง FedEx มีปัญหาหนักมากเรื่องไม่สามารถทำให้ night shift ทำงานได้อย่างมีประสิทภาพ ไม่ว่าจะกระตุ้นลูกทีมแค่ไหน สุดทายก็มีคนหาวิธีแก้ปัญหา โดยแทนทีจะจ่ายเงินรายชั่วโมง ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายเหมากะ และให้กลับบ้านได้ทันทีที่ load ของเสร็จแล้ว น่าทึ่วว่าปัญหาแก้ได้ทันที
· ในข้อนี้มันจึงตรงกับคำสอนของ Ben Frankin ที่ว่า “If you would persuade, appeal to interest and not to reason” บางทีกฏการบริหารจัดการที่สำคัญที่สุดก็คือ “Get the incentives right”
· อย่างไรก็ตาม Incentive superpower ก็เป็นแค่หนึ่งในปัจจัยในทางจิตวิทยาเท่านั้น เราต้องไม่หลงลืมว่ามันอาจมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาก่อกวนหรือเสริมได้ และไม่หลงไปกับ Man-with-a-hammer tendency
· ผลกระทบหนึ่งที่สำคัญขาก incentive superpower ก็คือ Incentive-caused Bias – เราถูกขับเครลื่อนด้วย incentive , ทั่งทั่รู้หรือไม่รู้ตัว และเมื่อเราได้สิ่งที่เราต้องการ เรามักจะให้เหตุผลการกระทำนั้นภายหลัง โดยเฉาพะถ้ามันเป็ฯการกระทำที่ผิดศีลธรรมจริยธรรม
· Incentive-caused Bias ทำให้เราต้องระมัดระวังตัวอย่างเหล่านักให้คำปรึกษามือาชีพ โดยเฉาพะถ้าเขาหากินกับการให้คำแนะนำโดยตรง เราต้อง double check และทวนคำแนะนำอย่างตั้งใจว่ามันเชื่อถือได้มากหรือไม่
· ในธุรกิจเรามี Cash study มากมายที่ incentive-caused bias ทำให้บริษัทดังๆถึงการล่มสลาย จากการโกงบัญชี วิธีแก้ที่ง่ายที่สุดจึงเป็นการออกแบบระบบบัญชีให้ดีตั้งแต่แรกๆ
· แต่มังเกอร์บอกว่าเรื่อง incentive-cause bias นี้ไม่มีพูดถึงเลยใน textbook ของจิตวทิยา อาจเพราะแม้มันจะเจอได้บ่อยในโลกความเป็นจริง แต่กับ textbook มันเขียนถึงได้ไม่ง่ายละมั้ง – เช่นเศรษฐศาสตร์เชียนถึงเรื่องนี้ว่า “Agency Cost” นายจ้างก็กลัวลูกจ้างโกง จึงออกแบบวิธีแก้โดยใช้ internal audit system ที่เข้มข้น บทลงโทษรุนแรง ใช้ระบบเช่น cash register ในขณะที่ลูกจ้างก็กลัวนายจ้าง abuse จึงมีการป้องกันโดยรวมตัวเป็นunions , เรียกร้องกฏ work-place safety, กฏหมายชั่วโมงทำงาน แรงงานค่าจ้าง - ทั้งสองฝ่ายมี incentive-caused bias ที่ไม่จบไม่สิ้น เหมิอนหนิยและหยาง
· ปัจจัยหนึ่งต่อความสำเร็จของ free-market capitalism ก็มาจากที่ระบบมันป้องกันไม่ให้เกิดผลร้ายแรงเดินไปจาก incentive-caused bias – ระบบมันคัดเลือกผู้อยู่รอดที่สร้างสมดุลได้ดีระหว่างการแข่งขันกับคนภายนอก และการจัดการกับ incentive ต่างๆภายใน ไม่ให้ต้นทุนมากกว่ารายได้
· 2. Liking/Loving Tendency
· ลูกเป็ดที่พึ่งฟักออกมา ถูกโปรแกรมให้ รักและเดินตาม สิ่งมีชีวิตแรกที่มันเห็น แม้สิ่งนั้นจะไม่ใช่แม่มันจริงๆก็ตาม
· ลูกมนุษย์ก็ถูกโปรแกรมให้รักและชอบ จากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ไม่ต่างกัน
· มีอะไรบ้างที่คนเราจะชอบและรักอัตโนมัติ นอกจาก พ่อแม่ ลูก และคู่ชีวิต? เราชอบที่จะถูกชอบ รักที่จะถูกรัก (He will like and love being liked and loved) เราจึงต้องการการยอมรับจากคนต่างๆที่เกี่ยข้อง
· Liking and Loving Tendency นี้ก็จะทำตัวเป็น conditioning device ที่ทำให้คนที่ตกในความชอบวมรักนั้น
o 1.ละเลยข้อผิดพลาด หรือ พยายามทำตามปรารถนา ของคนนั้น
o 2. ชอบสินค้า การกรทำ หรือผู้คน ที่เกี่ยวโยงกับสิ่งที่รัก/ชอบ
o 3. บิดเบือนข้อเท็จจริงบางอย่าง เพื่อ Facilitate ความรัก
· Liking and loving ที่นำไปสู่การชื่นชม ยังมี revere mode คือ การชมมากๆ ทำให้เกิดความรักและชอบได้เยอะไปอีก
· 3. Disliking/Hating Tendency
· เช่นเดียวกันที่เราเกิดมาด้วยความพร้อมที่จะรัก เราก็เกิดมาด้วยความพร้อมที่จะเกลียดชัง ดังตัวอย่างที่เราพบเห็นในสนามการเมือง
· แม้แต่ในระดับครอบครัว บางครั้งเราก็เห็นพี่น้องฟ้องกันไม่จบสิ้น ตราบที่ยังมีเงินค่าทนายอยู่ Buffett เคยพูดว่า ความแต่กต่างระหว่างคนรวยและจน คือคนรวยใช้เวลาชีวิตไปกับการฟ้องร้องญาติตัวเองได้
· Dislike & Hating Tendency ก็ทำตัวเป็น Conditioning Device โดยคนที่เกลียดชัง จะมีแนวโน้มที่
o 1. ไม่สนว่าคนที่เขาเกลียดทำประโยชน์ทำดีอะไรบ้าง
o 2. เกลียดคน สิ่งของ การกระทำทุกอย่างที่เชื่อมโยงกับคนนั้น
o 3. บิดเบือนความจริง เพื่อ facilitate ความเกลียดชัง
· การบิดเบือนความจริงนั้นมีพลังและน่ากลัวมาก มันทำให้คนแตกกันได้อย่างสุดขั้ว
· 4. Doubt-Avoidance Tendency
· สมองเราถูกโปรแกรมให้มีแนวโน้มจะกำจัดความเคลือบแคลงใจออกไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เราตัดสินใจได้
· วิวัฒนาการอธิบายสิ่งนี้ได้ดี เพราะถ้าเราเห็นผู้ล่าแล้วมัวแต่คิด เราก็คงไม่รอด
· แนวโน้มนี้จึงบอกเราว่าการจะตัดสินใจอะไรนั้น ต้องคร่ำครวญคิดให้ดีๆก่อน อย่าด่วนตัดสิน คิดถึง objectivity เป็นหลัก
· แต่คนที่อยู่เฉยๆ นิ่งๆ สงบๆ ก็มักไม่มีอะไรให้รีบร้อนจนมีแนวโน้ม Doubt-Avoidance Tendency นี้ สิ่งที่ทำให้เกิดแนวโน้มนี้มักเป็นการผสมกันของ 1 . puzzlement และ 2 . stress ซึ่งมันมักจะพบเจอใน issue ทางศาสนา
· 5. Inconsistency-Avoidance Tendency
· สมองเราถูกโปรแกรมให้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เราเห็นมันชัดมากในรูปแบบนิสัย ทั้งที่ดีๆและไม่ดี น้อยคนมากที่จะ list รายชื่อนิสัยไม่ดีออกมาได้ บางคนเปลี่ยนมันไปแล้ว แต่บางคนรู้ทั้งรู้ก็ยังทำมัน
· Chain of habit – คือโซ่ตรวจที่เบาเหมือนขนนกแต่หนักอึ้งจนไม่สามารถแบ่งแยกได้
· ชีวิตที่ชาญฉลาดจึงเป็นการเก็บรักษานิสัยดีๆไว้ให้มาก หลีกเลี่ยงนิสัยแย่ๆไว้ “An ounce of prevention is worth a pound of cure” - Inconsistency-Avoidance Tendency ในแง่นี้จึงบอกเราว่า มันง่ายกว่าที่จะหลีกเลี่ยงสร้างนิสัยไม่ดี อย่าปล่อยให้มันเกิดแล้วตามแก้ทีหลัง
· Anti-change mode และ Doubt-avoidance นั้นถูกสร้างมาด้วยกัน มังเกอร์คิดว่ามันมีสาเหตุเพราะ
o 1. มันทำให้คิดรวดเร็ว และทำให้เราอยู่รอดได้ดีกว่า
o 2. มันทำให้บรรพบุรุษเราร่วมมือกันได้ง่ายกว่าการที่มีแต่คนเปลี่ยนใจไปๆมาๆ
o 3. Complex modern life ทำให้โหมดความคิดนี้ ยิ่งทำงานได้ดี
· ไม่แปลกเลยที่ว่า ข้อสรุปที่เกิดจาก Doubt-Avoidance tendency และ Anti-change Tendency นี้รวมกัน จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดมากมายใน modern man cognition - เราคงพบเจอคนมากมายที่ยึดติดกับแนวคิดอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นแนวคิดผิดๆ ไปจนลงโลง
· Inconsistency-Avoidance Tendency นี้มีอีกชื่อคื “First Conclusion Bias ” ซึ่งเจอได้มากมายในแวดวงคดีความ ที่ผู้พิพากษาต้องฟังเหตุผลอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากทั้งสองฝั่ง ค่อยๆคิดใช้เหตุผล หรือการตัดสินใจทำอะไรต่างๆที่ต้องให้คนทั้งกลุ่มช่วยหาข้อสนับสนุนข้อโต้แย้งกัน
· การศึกษาก็เช่นกัน ที่ควรจะฝึกให้เราสามารถจัดการกับ wrong thinking ที่ต้านการเปลี่ยนแปลงได้ หลายๆครั้ง new idea นั้นไม่ได้เข้าใจยากในตัวของมันเอง แต่มันยากเพราะคนที่เชื่อ idea เก่าๆ ไม่ยอมรับมัน เพราะมันขัดกับสิ่งที่เขาเชื่อมานานแล้ว – บางทีคนก็สะสมข้อสรุปความเชื่อนั้นไว้เรื่อยๆ ไม่เคยกลับมาสำรวจซ้ำว่ามันถูกต้องอยู่หรือไม่ แม้จะมีหลักฐานมากมายแค่ไหนอันใหม่ๆ บอกว่ามันผิด – แม้แต่คนเก่งๆอยากไอสไนต์ก็เคยมี Bias นี้ในช่วงปลายชีวิต กับเรื่อง Quantum physics
· Inconsistency-Avoidance Tendency ก็มีข้อดีในสังคม มันทำให้คนอยู่กับบทบาทหน้าที่ ยิ่งถ้าคนๆนั้ต้อง เสียสละมากแค่ไหนเพื่อให้ได้มาซึ่ง new identity ก็จะรู้สึก “Devote” ไปกับบทบาทใหม่นั้นมากขึ้น บางครั้งก็เป็นอันตราย ดังเช่นในแกงค์มาเฟีย หรือทหารนาซี
· Ben Franklin Effect ยังอยู่ในโหมดหมู่นี้ มันคือการที่คุณขอให้คนอื่นทำอะไรเล็กๆน้อยๆสักอย่างให้คุณ แล้วผลคือ คนๆนั้นจะชอบคุณมากขึ้น และคุณจะขอความเชื่อเหลือจากเขาได้ง่ายกว่าขอความช่วยเหลือจากคุณที่คุณเคยช่วยด้วยซ้ำ นี่เป็นเช่นนี้เพราะ คนๆนั้นที่ช่วยคุณไปแล้ว จะรู้สึกว่าคุณเป็นคนดี จึงช่วยคุณอีก (แม้ตอนแรกจะไม่ได้ชอบ แต่พอช่วยแล้วจึงชอบ เพราะจิตใจมันต้องการ maintain logical consistency ไว้ระหว่างการช่วยและความชอบ)
· แน่นอนว่า Ben Frankin effect ก็ work ใน reverse mode – เมื่อ A ทำร้าย B , A จะยิ่งเกลียด B มากขึ้น เพราะไม่งั้นมันจะเหตุใดที่ A ทำร้ายแต่แรกหละ และมันจะวนเวียน grow by feeding on itself ไปเรื่อยๆ ทางที่ดีที่สุดคือตัดไฟแต่ต้นลม
· การสอน ยังทำให้เกิด Inconsistency-Avoidance Tendency เช่น หากนักเรียนอายุน้อยๆ ได้เรียนรู้แนวคิดการเมืองแบบแปลกๆ และนักเรียนคนนั้นอยากเผยแพร่ สอนคนอื่น เรื่องความคิดแปลกๆนั้น คนอื่อาจไม่เชือ แต่ที่รับเข้าหัวไปเต็มๆก็คือคนเผยแพร่/สอนคนอื่นนั่นแหละ
· 6. Curiosity Tendency
· อายรธรรมของมวลมนุษยชาตินั้น ก้าวหน้าจากความอยากรู้อยากเห็น ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณที่พัฒนาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มามาก ส่วนโรมันแม้ไม่สนเรื่องพวกนี้แต่ก็หมกมุ่นไปกับpractical engineering เช่น เหมืองแร่ ถนน ท่อน้ำ เป็นต้น
· ความอยากรู้อยากเห็นมีข้อดีคือช่วยป้องกันผลร้ายจาก psychological tendency อื่นๆได้ และมันยังทำให้เราสนุกไปกับการหาความรู้ wisdom ต่างๆ
· 7. Kantian Fairness Tendency
· categorical imperative (reciprocal courtesy) , Kant ต้องการให้มนุษย์ทุกคนทำตามกฏนี้ จะทำให้ระบบสังคมทำงานได้ดีที่สุด มนุษย์ทุกคนจะมีความสุข
· เราต้องการ fair-sharing conduct เช่น ผลประโยชน์ต่างตอบแทน เข้าคิวมาก่อนได้ก่อน
· เราจึงมีแนวโน้มจะต้องการได้รับความยุติธรรมและจะมีความรู้สึกไม่พอใจมาก ถ้าไม่รู้ว่าได้รับ fair sharing เช่นที่ควรได้ (When we are not treated fairly, often we become very angry and/or frustrated.)
· 8. Envy/Jealousy Tendency
· มีหลายๆspecies ที่ถูกออกแบบมาให้เมื่อใดที่มันเห็นอาหารที่ไม่พบไม่ได้ง่ายๆ มันจะมี drive รุนแรงเพื่อไปเอาอาหารนั้นมาให้ได้เมื่อมันเห็น ซึ่งจะสร้างความขัดแย้งได้เมื่ออาหารนั้นไปอยู่ในการครอบครองของสมาชิกคนอื่นๆใน species เดียวกัน นี่อาจจะเป็น Evolutionary origin ของความอิจฉา ซึ่งอยู่มาเนิ่นนานในธรรมชาติมนุษย์
· Sibling Jealousy เป็นสิ่งที่รุนแรงและเห็นชัดมากๆในเด็ก ซึ่ง Kantian Fairness Tendency อาจมีส่วนทำให้เกิดสิ่งนี้
· ความอิจฉาเป็นสิ่งอันตรายมากๆ ดังที่มีในตำนาน ศาสนา วรรณกรรมไม่ว่าจะชาติไหน นานแค่ไหน ในศาสนายิวนั้น ความอิจฉามันเป็นสิ่งต้องห้ามใน law of moses
· แน่นอนว่าความอิจฉามันextreme ใน modern life เช่น สังคมมหาลัยมักจจะเป็นบ้ากันไปหมด หากมีสายงานไหนได้รับเงินโบนัสเยอะเกินกว่าคนอื่นๆ บริษัทใหญ่ๆหลายแห่งรู้ความอันตรายของการอิจฉานี้ จึงมีโปรแกรมโบนัสให้คนทำงานขั้น senior แบบไม่แตกต่างกันมาก แม้ว่าพวกเขาจะ contribute ให้บริษัทต่างกัน
· ความอิจฉานั้นทรงพลัง buffett เคยสังเกตว่า “It is not greed that drives the world, but envy”
· ความอิจฉาริษยานั้นมีอยู่จริง แต่มันคือปรากฏการที่ไม่ค่อยจะมีใครพูดถึงกัน (แม้แต่ใน textbook จิตวิทยา) คุณเคยคุยกันในกลุ่มเพื่อนกันเรื่องความอิจฉามั้ย มันเหมือนจะมี taboo บางอย่างที่ทำให้คนเราไม่ค่อยอยากพูดถึงมัน
· มันอาจเป็นว่า การอธิบายผลสำเร็จอะไรบางอย่างของคนใดคนหนุ่งว่ามาจากความอิจฉาริษยานั้น ถือว่าเป็นการดูถูกอย่างรุนแรง (ยิ่งหนักไปอีกถ้ามันถูกต้อง) ถ้าเราไปเรียกใครว่าถูกขับเคลื่อนด้วย “ความอิจฉา”
· 9. Reciprocation Tendency
· เรามีแนวโน้มจะตอบสนองเอาคืน ทั้งดี และ ไม่ดี ซึ่งมันเป็นสิ่งที่พบในสัตว์ต่างๆ แนวโน้มนี้ทำให้การร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ในกลุ่มนั้น เป็นไปได้ง่ายขึ้น
· ในสงคราม เราพบเห็น extreme tendency to reciprocate ผ่านการกระทำป่าเถื่อนรุนแรงมากมาย แม้ผู้ถูกกระทำจะเป็น species เดียวกัน จากประวัติศาสตร์มันอาจบอกเราได้ว่า
o 1. ธรรมชาติไม่ได้ออกแบบให้ภายใน species เดียวกันใช้ความถ้อยทีถ้อยอาศัย ใจเขาใจเรา มาช่วยในความอยู่รอด
o 2. หากประเทศนั้นละทิ้งการแก้แค้นเอาคืนกับผู้บุกรุก มันจะมีอนาคตยืนยาวหรือไม่
o 3. หากกลยุทธ์ถ้อยทีถ้อยอาศัย (Turn the other check) นั้นเป็นสิ่งที่ดีกับประเทศจริงๆ วัฒนธรรมคนเราก็จะปรับได้ยากอยู่ดี เพราะยีนส์มนุษย์ไม่ได้ออกแบบมาเช่นนั้น
· วิธีป้องกันไม่ให้เรามี overactive hostility นั้นก็รู้กันดี คือเราต้องฝึกตัวเองไม่ให้เกิด reaction หรือเกิดแล้วก็ต้องพยายามเลื่อนมันไปก่อน – คุณรอจะด่า ตวาด วันพรุ่งนี้ได้เสมอ ถ้ามันเป็นไอเดียที่ดีจริงๆ
· Reciprocation tendency นอกจากจะมีเรื่อง superpower of incentive เข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ยังมีเรื่อง Inconsistency-Avoidance Tendency เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังในกรณี loyalty promise (สัญญาว่าจะทำ ก็ต้องทำตาม) เช่นการแต่งงาน หรือการที่ผู้คนคาดหวังว่าบางอาชีพต้องเป็นคนดี เช่น พระ แพทย์
· แน่นอนว่า tendency ข้นี้ก็เอามาใช้ mislead คนได้ เช่นถ้านายหน้าขายรถพาคุณไปนั่งกินกาแฟและเลี้ยงกาแฟสักแก้ว เท่านี้ก็ทำให้เขาขายข้องหลักแสนได้ง่ายขึ้นแล้ว และคุณก็เสียเปรียบไป แต่นี่ยังน้อย ถ้าเกิดว่าคุณเป็นagentซื้อของให้คนที่รวยกว่า (เช่น รัฐบาล หรือเงินบริษัท) นั่นหมายความว่า กาแฟแวนั้นอาจจะแลกกับเงินมูลค่ามหาศาล และนี่คือสถานการ์ที่ saleman จะได้เปรียบมากที่สุด - วิธีป้องกันจึงเป็น ไม่รับของกำนัลอะไรทั้งสิ้นจากคนมาขายของ แม้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม
· แม้แต่การโดนปฏิเสธ หรือเป็นผู้ปฏิเสธเสยเอง ก็เกี่ยวข้องกับ reciprocation tendency ได้ เช่น มีการทดลองให้คนๆหนึ่งเดินถามคนแปลกหน้า ว่าจะขออาสาให้พาเยาวชนที่ทำผิดกฏหมายไปเที่ยวสวนสัตว์หรือไม่ ผลปรากฏว่ามี 1/6 คนที่จะตอบตกลง ทีนี้พอเปลี่ยนวิธีเป็นว่า ให้ถามคนแปลกหน้าว่าจะอาสาสมัครพาเด็กเหล่านั้นไปเที่ยวสวนสัตว์ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 2 ปีหรือไม่ คำตอบคือปฏิเสธ 100% แต่เมื่อถามคำถามต่อไปว่า งั้นช่วยพาไปเที่ยวสักวันได้ไหม? คำตอบรับกลับขึ้มาจาก 1/6 เป็น ½ - ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนที่ไปขอให้ช่วยนั้น ได้แสดงอาการยอมแพ้ (Small concession) จึงมี reciprocate จากอีกฝ่ายด้วย small concession เหมือนกัน โดยไม่รู้ตัว คนนั้นก็เลยตอบตกลงพาเด็กไปเที่ยวสวนสัตว์โดยไม่มีเหตุผลเท่าที่ควร
· Reciprocation Tendency จึงทรงพลังมาก จริงๆก็ตั้งแต่สมัยโบราณที่มีการสังเวยชีวิตมนุษย์ให้พระเจ้าแล้ว
· 10.Influence-from-Mere-Association Tendency
· นักโฆษณารู้จักพลังของข้อนี้ดี คุณจะไม่เห็นcoke โฆษณากับเด็กป่วย แต่โค้กจะอยู่ภาพโฆษณาที่มีแต่คนมีความสุข
· หรือการที่เราเชื่อมโยงของราคาแพง ว่าแพง = ดี เช่นพวกเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ หรือ การโยงของงแต่งตัวหรูหรา ว่า แพง = ดี = higher status
· แต่ความเสียหายจากการเชื่อมโยง mere association นี้ มาในรูปแบบรุนแรงที่สุด คือ การโยงความสำเร็จในอดีต เข้ากับการทำนายอนาคต (ว่าเขาจะสำเร็จอีกครั้ง) -วิธีแก้คือ
o 1. สำรวจดีว่าความสำเร็จในอดีตมันเกิดจากฝีมือหรือแค่ดวง
o 2. ดูดีๆว่าสิ่งใหม่ที่ทำอยู่นี้ มีอะไรอันตรายซ่อนอยู่ที่เราไม่เคยเจอใน past success หรือไม่
· นอกจานี้ความรัก ความเกลียด ก็จะเป็นปัจจัยทำให้การแปรผล mere association นั้นผิดเพี้ยนไปอีก เช่นประเมินคู่แข่งธุรกิจที่ไม่ชอบขี้หน้าต่ำไป
· Persian Messenger Syndrome – เหตุการณ์ที่คนส่งข่าวนำข่าวว่ารบแพ้มาบอกกษัตริย์ แล้วคนส่งข่าวนั้นโดนฆ่าเสียเอง ก็คือรูปแบบไม่ดีอันหนึ่งของ mere-association ( คนส่งข่าวโดนเชื่อมโยงกับข่าวร้าย) – แน่นอนปัจจับนัมันก็มีให้เห็นในหลายๆอาชีพ แม้แต่ครั้งหนึ่ง CEO ของ CBS คนหนึ่งได้ชื่อว่าเกลียดข่าวร้ายและจะเกลียดคนเอาข่าวร้ายมาบอกมากๆ ผลคือเขา live in cocoon of unreality จนบริษัทต้องliquidateไป - วิธีป้องกันจึงต้องสร้างนิสัยที่พร้อมจะรับข่าวร้าย ส่วนข่าวดีนั้นรอไปก่อนได้
· และการที่เราเชื่อมโยง steroretype ก็รวมอยู่ในข้อนี้ด้วย เช่น มี stereotype ว่าตคนสูงอายุมีความนึกคิดลดลง ผู้หญิงไม่เก่งเลข ไม่งั้นก็คงไม่มีใครจมแม้น้ำที่ค่าเลี่ยลึก 1เมตรครึ่ง
· 11. Simple, Pain-Avoiding Psychological Denial
· บางครั้งความเจ็ฐปวดก็มากไปจนต้านทานไม่ไหว จนต้องบิดเบือนความจริงเพื่อให้ไหว ซึ่งมันเกิดในสถานการสูญเสียครั้งสำคัญ ก็คงไม่มีใครจะว่าอะไร
· แต่พวกติดสารเคมีนั้น บางทีก็จะรู้สึกว่าตัวเองปกติดี ปฏิเสความจริงแม้ตัวเองจะเสื่อมลงๆ ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามควรหนีห่างจากการเสพติด เพราะมันออกยากมากๆ
· 12. Excessive Self-Regard Tendency
· เรามักประเมินตัวเองสูงเกินไป และประเมินสิ่งที่เราเป็ฯเจ้าของดีเกินไป ซึ่งมันมี technical term ก็คือ “Endowment Effect”
· แต่ผลที่น่ากลัวจากข้อนี้ คือการมีกลุ่มคนใกล้ชิดบางกลุ่มที่โดน Self-regard นี้ครอบงำ จึงเลือกแต่คนที่นิสัยคล้ายๆกันเข้ามา เช่น หาก sales department ของบริษัทเลือกแต่คนไม่ดีเข้ามาด้วยกัน ก็จะทำให้มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ และแก้ได้ยากมาก
· ในการพนันก็เช่นกัน lottery จะขายได้มากกว่าถ้าให้คนเลือกเลขได้เอง เทียบกับการกระจายเลขแบบสุ่ม แม้โอกาสชนะจะไม่ได้ต่างกัน หรือการพนันในทีมกีฬาที่รัก แม้ฝ่ายตรงข้ามจะเหนือกว่าแบบเห็นได้ชัดก็ตาม
· Excess of Self-regard ยังรวมถึงเวลาว่าจ้างงาน ที่นายจ้างจะประเมินค่าของความประทบัใจในการสัมภาษตัวต่อตัว มากกว่า past record ของผู้สัมภาษนั้น ซึ่งบางครั้ง job candidate ที่เป็น presenter ยอดฝีมือ ก็จะได้เปรียบกว่าในส่วนนี้
· Tolstoy Effect – ยอดอาชญากรมักไม่มองว่าตัวเองเลว แต่พวกเขาเชื่อว่าไม่ได้ทำอะไรผิด และเชื่อว่าแรงกดดันและความเสียเปรียบในชีวิต มันคือเหตุที่เข้าใจได้และสมเหตสมผลที่ทำให้เขาประพฤติตัวเช่นนี้ - กล่าวอีกนัย มันคือการที่คนมีข้ออ้างต่อสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ (Excese for fixable poor performance)
· ทางแก้ที่ดีสุดต่อ excess of self-regard นี้คือการบังคับตัวเองให้ประเมินแบบ objective ที่สุด และรวมถึงการประเมินสิ่งอื่นๆด้วย มันอาจไม่ง่ายและขมขื่น แต่ก็ดีกว่าปล่อยให้ธรรมชาติจัดการไปเอง
· 13. Overoptimism Tendency
· คนเรามักมองโลกในแง่ดีเกินไป เช่นเกล่าคนมีความสุขจากการซื้อ lottery
· วิธีแก้คือการหัดคิดแบบ probabilistic thinking เพราะวิธีคิดแบบธรรมชาติให้มานั้นไม่พอ
· 14. Deprival-Superreaction Tendency
· ความเสียหายนั้นเจ็บกว่ากรได้มา (Loss of possessed Reward) เสียเงินสามร้อย เจ็บปวดกว่าความดีใจจากการได้เงินสามร้อย หรือแม้แต่ ถ้าเราอยาได้อะไรมาก แล้วถึงจุดที่เกือบได้แล้วแต่ผิดหวัง ก็จะเจ็บกว่าการไม่เคยมีหวังแต่แรก ทั้งๆผลมันก็เหมือนกัน (Loss of almost-possessed reward)
· เหมือนสุนัขที่เชื่องแค่ไหน แต่ถ้าเจ้าของไปเอาอาหารออกจากปากมันตอนมันกำลังเคี้ยวอยู่ มันก็อาจงับกลับได้ คนก็มี irrational intensity to even small loss ไม่ว่าจะสิ่งของ ความรัก มิตรภาพ โอกาส สถานะทางสังคม
· ในศาสนาก็เหมือนกัน หากมีคนนอกที่ไม่เชื่อมาพูดแสดงความคิดเห็นที่ไม่ดี คนนั้นก็จะถูกโจทตีรุนแรง ส่วนหนึ่งหากคำนั้นมันแพร่กระจาย มันอาจะกระทบความเชื่อของหลายๆคนและทำให้สิ่งแวดล้อมมันเปลี่ยนไปได้ ซึ่งเราเห็นได้บ่อยว่าบางครั้งคามเชื่อศาสนาแบบนี้มันก็รุนแรงมาก มันมีแรงหนุนจากอีกปัจจัย คือ inconsistency-avoidance tendency ด้วย
· วิธีแก้ปัญหานี้ คือต้องสร้างบรรยากาศแบบให้เกียรติกันในกลุ่ม หรือนำ voice of unbeliever ที่สามารถประนีประนอมไมให้สถานการรุนแรงได้
· ข้อนี้ยังพบเจอได้ในปัญหาแรงงาน ที่จะเกิดการประท้วงรุนแรงหากมีการลดเงินเดือนค่าจ้าง ซึ่งปัจจุบันเราเห็นมันในรุปการหายไปของบริษัทได้เลย เวลาที่มีอีกบริษัทมาเข้าซื้อ เพราะลูกจ้างเดินคงไม่ยอมให้นายจ้างใหม่เอาสิทที่เคยได้ออกไป การตัดบรษัททิงไปจึงง่ายกว่า
· การพนันก็เช่นกัน รูปแบบที่เราจะติดง่ายสุดก็คือการพนันที่ให้โอกาส near miss บ่อยๆ เพราะมันจะ trigger deprival-superreaction tendency ได้รุนแรงที่สุด เช่น slot machine ที่ถูกตั้งโปรแกรมให้คิดว่าเกือบแล้ว
· มังเกอร์เองเคยประสบความเสียหายจากข้อนี้โดยตรง ครั้งหนึ่งมีโบรกเกอร์เสนอขายหุ้นที่ undervalue มากๆ เขาซื้อไปด้วยเงินสดที่มี โบรกคนเดิมโทรมาขายเพิ่ม เขาปัดไปเพราะไม่อยากขายอย่างอื่นมาซื้อหรือไม่อยากยืมเงินมาซื้อ ซึ่งมันไร้เหตุผลมาก เพราะมังเกอร์ไม่ได้มีหนี้สินอะไร และมันเป็น deal ที่ reward มากกว่า risk มากๆ แน่นอนสุดท้ายเขาพลาดกำไรไปเยอะมาก
· เขามองว่าผู้ถือหุ้น BRK หลายๆที่รู้จักก็บอกไว้ว่าจะไม่ขายหุ้นนี้เลย ไม่ว่าจะบางส่วนก็ตาม เขาเชื่อว่าหลายคนตัดสินด้วยเหตุผล แต่หลายคนก็โดยอิทธิพลของ tendency เหล่านี เช่น
o 1. Reward Superresponse
o 2. Inconsistency-Avoidance Tendency
o 3. Endowment effect
o 4. Deprival-Superreaction Tendency ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่รุนแรงที่สุด - เขาอาจทนเห็น position BRK ลดลงไปไม่ได้
· 15. Social-Proof Tendency
· ไม่ว่าสิ่งนั้นจะซับซ้อนแค่ไหน ดูง่ายดายทันทีแค่ทำตามๆคนอื่น เราถูกโปรแกรมมาด้วยแนวโน้มที่จะคิดและทำตามคนรอบข้าง
· วัยรุ่นที่ชอบทำตามเพื่อนมากกว่าฟังพ่อแม่นั้นก็เช่นกัน มีส่วนสำคัญส่วนหน่งจากยีน ดังนั้นมันฉลาดกว่าถ้าผู้ปกครองหาสิ่งแวดล้อมที่เรียนดีๆเพื่อนดีๆให้ลูก มากกว่ามาพร่ำสอนขอร้องให้ทำตาม
· Social-Proof Tendency จะเกิดง่ายขึ้นเมื่อมี stress หรือ puzzlement ดังนั้นพวกขายของจึงมักใช้เทคนิคสร้างสถานการให้ตื่นเต้น เร้าใจ ตกใจ ให้มีหน้าม้าซื้อของคนแรกๆ เพื่อโจมตี Social-proof tendency นั่นเอง
· และในเมื่อพฤติกรรมดีและไม่ดีนั้นติดต่อกันได้ง่ายโดย Social Proof Tendency – มันสำคัญมากที่ขะ 1. หยุดการกระทำที่ไม่ดีก่อนมันแพร่กระจาย 2.สนับสนุนการกระทำดีๆ
· และไม่ใช่เฉพาะการกระทำคนอื่นที่จะ mislead ยังรวมถึง Inaction ด้วย เพราะหลายครั้งมันจะแปลผลว่า inaction = right action
· Social-Proof Tendency มัก interact กับ Envy/Jealousy และ Deprival-Superreaction Tendency ดังเช่นกรณีข้อพิพาทในดินแดนตะวันออกกลาง
· ดังนั้นแล้ว เราจึงควรเรียนรู้ที่จะ ละเลย การกระทำบางอย่างของคนอื่นเมื่อเห็ฯว่ามันผิดเห็นๆ อย่าเอาแต่ทำตามๆกัน
· 16. Contrast-Misreaction Tendency
· สมองเราไม่ได้ออกแบบมาให้ชั่งตวงวัดได้แม่นยำเป็นหน่วยทางวิทยาศาตร์ มันใช้การเปรียบเทียบ ดังนั้นเมื่อ perception มันไม่ได้เที่ยงตรง cognition ก็ไม่เที่ยงตรงเช่นกัน - เช่นเรามองว่า option กระจังหน้ารถเพิ่มอีก 1000$ นั้นดูไม่แพงเมื่อเทียบกับราคารถที่ 65000$
· หรือเวลาจะขายของ Saleman ก็จะเอาบ้านที่ตั้งใจตั้งราคาแพงมากๆ มาให้ลูกค้าดูก่อน หลังจากนั้นค่อยโชบ้านที่ราคาลดลงมา เพื่อให้ขายของได้ง่ายขึ้นง
· หรืออีกอย่างก็คือการเปลี่ยนแปลงแบบกรณีต้มกบ ที่เมื่อการเปลี่ยนแปลงมันน้อยมากๆ ทำให้เราไม่รู้ตัวจนมาไกลแล้วนั่นเอง
· 17. Stress-Influence Tendency
· Stress น้อยๆอาจทำให้จดจ่อกับงานได้ดีขึ้น แต่ stress มากๆ ทำให้การทำงานผิดเพี้ยนไป
· Stressแบบรุนแรงนั้น นอกจากจะทำให้เกิด Depression ได้แล้วแบบที่รู้ๆกันนั้น มันยังทำให้เกิด mental breakdown รูปแบบอื่นได้ด้วย
· ในการทดลองของ Pavlov ที่นอกจาจะมีเรื่องหมาน้ำลายไหลตอนสั่นกระดิ่งนั้น มีช่วงที่เกิดน้ำท่วมหนักในMoscow ทำให้ห้องทดลองของ pavlov ที่เต็มไปด้วยน้องหมาในกรงนั้น ต้องเจอกับ heavy stress ทุกวันเพราะน้ำมันขึ้นสูงจนเกือบท่วมมิด ผลคือ หมาที่เขาฝึกมาอย่างเชื่องนั้น พฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นหลังมือ คือเกลียดเจ้าของไปเลย ผลการทดลองนี้มันอธิบายการที่พวกลัทธิแปลกๆ สามารถเปลี่ยนล้างสมองเด็กดีรักพ่อรักแม่ให้เปลี่ยนไปเป็นหลังมือได้เลย
· แน่นอนว่า Palov ไม่พลาดโอกาสนี้ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เขาใช้เวลาช่วงปลายชีวิต ทรมารหมาตัวแล้วตัวเล่า และพยายาม reverse mental breakdown เขาพบว่า
o 1. เขาสามารถจัดกลุ่มได้ว่าหมาตัวไหนที่มีโอกาส Breakdown ได้ง่าย ยาก
o 2. หมาที่ breakdown ได้ยากสุด ก็กลับมาปกติยากสุดเช่นกัน
o 3. หมาทุกตัวสามารถ Breakdown ได้
o 4. ว่าเขาไม่สามารถ Reverese Breakdown ได้โดยไม่ใช้ stress กระตุ้นอีกครั้ง
· 18. Availability-Misweighing Tendency
· Mental tendency นี้ตรงกับสำนวนที่ว่า “รักแท้แพ้ใกล้ชิด” - สมองเรามักลอยเข้าไป deal กับอะไรที่มันเห็นง่ายๆ และถูก Block ไม่ให้เห็นสิ่งที่ดูไกลตัว
· วิธีแก้นั้นคือการใช้ checklist อีกวิธีคือพยายามหาหลักฐานอื่นๆมา disconfirm หรือหาคนอื่นๆมาช่วยท้วงตืง
· ดังนั้นแล้วสสิ่งที่เราจำได้แม่นยำ เห็นชัด เราอาจต้องให้น้ำหนักมันน้อยหน่อย ส่วนอันที่มันเลือนลางเราอาจต้องให้น้ำหนักมากกว่า
· แต่แนวโน้มข้อนี้มันก็สามารถใช้ในการชัดชวนคนให้ทำสิ่งถูกสิ่งดีได้ หรือกระตุ้นพัฒนาความจำโดยการใช้ภาพที่ชัดๆ สิ่ของที่ชัดๆ
· An idea or a fact is not worth more merely because it is easily available to you.
· 19. Use-It-or-Lose-It Tendency
· ทักษะทุกอย่างจะค่อยๆหายไปเมื่อไม่ใช้ ตอนวัยรุ่น มังเกอร์เก่ง calculus มาก แต่ก็ลืมไปหมดแล้วเพราะไม่ได้แต่เลย
· วิธีแก้คือทำแบบนักบิน ที่ต้องมี aircraft stimulation เป็นช่วงๆ เพื่อฝึกฝนทักษาะยากๆ นานๆใช้ที ที่เขาลืมไม่ได้
· ตลอดช่วงชีวิตชายผู้ชาญฉลาดนั้น จะ practice ทุกๆทักษะ แม้ไม่ได้ใช่ไม่บ่อย โดยเฉาะที่อยู่นอกสายงาน เป็นหน้าที่เพื่อพัฒนาตัวเอง หากลดขอบเขตความเชี่ยมชาฐลง เขาจะมีสิทธิ์เป็น man with a hammer tendency ความสามารถการเรียนรู้ก็จะลดลงเพราะมันมี gap ใน latticework of theory และทำให้ framework ที่ควรเขาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆนั้นหดลง และมันยังจำเป็นที่คนนั้นๆจะรวบรวมทักษะของเขาเป็น checklist เพื่อไม่ให้พลาดอะไรไป
· 20. Drug-misinfluence Tendency
· ยาเสพติด ทำให้เกิด Simple, Pain-Avoiding Psychological Denial ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่ามันรุนแรงแค่ไหน
·
· 21. Senescence-Misinfluence Tendency
· อายุมากขึ้น ความนึกคิดก็เสื่อมถอยไปตามเวลา โดยทั่วไปก็ยิ่งแก่ยิ่งเรียนรู้ skill ใหม่ๆได้ยาก แต่บางคนก็สามารถคงความเก่ง old skill ได้เป็นอย่างดี - มมีความสุขไปกับการเรียนณู้สิ่งต่างๆ อาจช่วยชะลอความเสื่อมได้เป็นอย่างดี
· 22. Authority-Misinfluence Tendency
· เราอาศัยในโครงสร้าง dominant hierarchies มาเนิ่นนานแล้ว อยู่เป็นกลุ่มก้อนที่มีผู้นำ และเราจึงมีแนโน้มจะทำตัวตามผู้นำอยู้แล้ว
· แต่เมื่อเรามีแนวโน้มจะทำตามผู้น้ำแบบอัตโนมัติ ความซวยจะเกิดเมื่อผู้นำนั้นคิดผิด เข้าใจผิด หรือออกidea ไม่เข้าท่า เช่น Copilot ต้องมีการฝึกฝนที่จะละเลยบางคำสั่งจาก boss pilot ที่ดูไม่เข้าท่า เพราะบางทีนักบินหลักก็มีคำสั่งไม่เข้าท่า
· หรือการทดลองของ Stanley Milgram ที่ให้คนธรรมดาเล่นบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ที่สั่งช็อตไฟฟ้าคนบริสุทธ์ได้ ซึ่งคำอธิบายก็มักจะบอกว่าเป็นเพรา Authority-Misinfluence Tendency นี้ - ปัญหาคือการทดลองนี้เกี่ยวข้องกับอีกหลาย tendency ไม่ใช่จำกัดแค่อันนี้อันเดียว (สงสัยคนทดลองลืมทำ checklist) มังเกอร์บอกว่าการทดลองนี้มีอย่างน้อย 6 powerful psychological tendencies ที่ทำตัวเกื้อหนุนและเกิดเป็น Extreme result เช่น การที่ผู้คุมทดลองยืนดูการทดลองเฉยๆ นั้นมันมี social proof effect of inaction ซึ่งแปลว่าทำต่อไปได้เลย ยังโอเค
· หรือย่างในแวดวงธุรกิจ ที่บางครั้งก็ไปแต่งตั้ง CEO ไร้ฝีมือฉ้อฉล แต่Authority-Misinfluence Tendency ก็ทำให้ลูกน้อิงปฏิเสธคำสั่งที่ไม่เข้าท่าได้ยาก ดังนั้นการตั้งคนมาในอำนาจนั้นต้องระวังมากๆ เพราะจะ remove ยากมาก
· 23. Twaddle Tendency
· มนุษย์บางคนเกิดมามีพรสวรรค์ด้านการใช้ภาษา บางคนเกิดมาเก่งแต่พูด หรือเขียน สิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไร และบ่อยครั้งก็ทำให้เกิดความเสียหาย
· มีการทดลองในผึ้ง ซึ่งปกติเมื่อมันเจอเกษรดอกไม้แล้ว มันจะกลับมาเต้นเพื่อส่งสัญญาณให้ผึ้งตัวอื่นเพื่ออธิบายว่าเกสรดอกไม้นั้นอยืที่ไหน คราวนี้ผู้ทดลองดัดแปลงให้เกสรดอกไม้อยู่สู.มากๆแบบที่ธรรมชาติทำไม่ได้ ผึ้งที่เจอเกสรดัดแปลงนี้ ไม่มีสามารถหาวิธีรับมือกับมันได้เพราะไม่มีcode ใน genetic แต่แทนที่มันจะอยู่เฉยๆ มันกลับเต้นท่าเต้นสะเปะสะปะ - ชีวิตมังเกอร์เจอคนแบบผึ้งตัวนี้มามากมาย มันสำคัญมากในภาคธุรกิจที่จะเก็บคนที่ดีแต่พูด พูดอะไรได้เป็นตุเป็นตะไม่มีเนื้อหา ไว้ไกลๆงานที่จริงจัง
· 24. Reason-Respecting Tendency
· เราจะรู้เรียนรู้ได้ดีกว่า ถ้าได้รับการสอนแบบเชื่อมโยงเหตุผล แทนทีจะให้ท่องจำเฉยๆ
· ในทางปฏิบัติ การทำงานการให้คำสั่งการสื่อสารนั้นก็ควรมีการให้เหตุผลกับผ้รับสารด้วย การคิดถึง why ทำให้ผู้ส่งสารต้องไตร่ตรองสิ่งนั้นดีๆอีกที และทำให้ผู้รับสารมีแนวโมทำตามมากกว่า (แม้มันจะป็นเหตุผลที่ไม่ค่อยสอดคล้องกันก็ตาม) – มีการทดลองในจิตวิทยา โดยให้คนไปแซงคิวร้านถ่ายเอกสาร แล้วพูดแค่ว่า “ฉันต้องถ่ายเอกสาร” ผลคือมันทำให้สามารถขอแซงคิวได้อย่างน่าประหลดาใจ
· ดังนั้นบางทีการที่เราให้เหตุผล ผู้รับสารจะมี reflex ยอมรับได้ง่ายกว่า แม้เหตุผลนั้นจะไม่เข้าท่า ผิด หรือแปลกๆก็ตาม
· 25. Lollapalooza Tendency-The Tendency to Get Extreme Consequences from Confluences of Psychological Tendencies Acting in Favor of a Particular Outcome
· สิ่งที่เกิดใน Milgram experiment หรือพวกลัทธิล้างสมองนั้น คือการนำแต่ละ psychological tendency มาทำให้เกิด effect ในเวลาใกล้เคียงกันในเป้าหมาย ผลมันจะแรงมากขึ้นหลายเท่าตัว และบางครั้งก็เปลี่ยนตัวตนเป้าหมายไปเลย (snapping)
· ซึ่งมังเกอร์แปลกใจมากที่ไม่เคยพบการพูดถึง effect ของ Intertwined psychological tendency นี้เลยนตำราจิตวิทยา อาจเป็นเพราเหล่านักวิชาการนั้นถูก oversimplified notion เล่นงานเสียเอง
· Q&A
· 1. List เหล่านี้มันดูเหลื่อมล้ำกันหรือไม่? - ใช่ แต่การจะปรับให้มันเป็นข้อๆแยกกันมากขึ้นนั้นไม่ค่อย practical เพราะในจิตวิทยานั้นองค์ความรู้มันก็เหลื่อมล้ำกลืนกันแยกกันยากอยู่แล้ว
· 2. มี Real world model ใดบ้างที่โชให้เห็นศักยภาพของ Psychological tendency ต่างๆ interact ? – ตัวอย่างเช่นกรณีของการซ้อมอพยพบริษัทผลิตเครื่องบิน Douglas ที่ก่อนจะขายเครื่องบินได้นั้น ต้องผ่าน evacuation test เสียก่อนแบบจำลองเหมือนจริง เช่นผู้โดยสารต้องมีทุกๆกลุ่มอายุปะปนกันไป ปรากฏว่าบริษัทนี้เอาคนแก่มาrun test เยอะมาก และทำการทดลองในโรงจอดเรื่องบินพื้นปูน ที่ข้างในค่อนข้างมืด - ผลการทดลองนั้น ครั้งแรกมีคนบาดเจ็ฐรุนแรง 20 คน ส่วนลองทำซ้ำครั้งที่สองในวันเดียวกัน ก็มีคนเจ็ฐรุนแรง 20 คนเหมือนกัน – การทดลองนี้แสดง psychological tendency มากมาย เช่น Reward superresponse ทำให้บริษัทต้องรีบทำ test ไห้ผ่านไม่งั้นก็ขายเครื่องบินไม่ได้ , Doubt-Avoidance Tendency ทำให้บริษัทไม่คิดให้ถี่ถ้วน , Authority-Misinfluence ทำให้บริษัท overreact กับคำสั่งรัษบาล (test เสมือนจริง) และเลือก test methoud ที่อันตรายไป , Inconsistency Avoidance ทำให้เมื่อ test แรกล้มเหลว ก็ยังมีตามมาอีก , ฆSocial proof Tendency ก็อธิบาย setting การทดลองที่ดูไม่เข้าท่านี้ แต่เมื่อเจ้านายผู้คุมอื่นๆไม่คัดค้านอะไ ลูกน้องบางคนที่เห็นจุดอ่อนนี้ก็ไม่อะไรไปด้วย , Deprival supperaction เมื่อ test แรกล้มเหลว ก็ยังทำตามแผนเดิมต่อ เพราะถ้าไม่ผ่านแปลว่าขาดทุนหนัก เหมือนนักพนันที่หลังเสียเงินไปเยอะ ก็จะพนันมากขึ้น
· 3. ทำไม tendency ต่างๆนี้โปรแกรมมาในสมมองมนุษย์ผ่านกระบวยการวิวัฒนาการมานาน - เพราะว่าพวกนี้มันมีประโยชน์มากกว่าโทษ มันจึงอยู่มานาน และไม่สามารถจัดการมันออกไปแบบง่ายๆเหมือนกดชักโครก แต่เราต้องรู้ทันมันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้ในบางกรณี
· 4. มีปัญหาพิเศษเกี่ยวกับความรู้ใดบ้างที่แสดงอยู่ใน thought system ที่คุณ list ไว้ : สิ่งนั้นคือ paradox , ใน social psychology หากผู้คนเรีนรู้สเกี่ยวกับระบบมากยิ่งขึ้น มันก็จะเป็นจริงน้อยลง
· 5. เราต้องผนวกรวม psychology และ economic เข้าด้วยกันมากขึ้นหรือไม่ - ใช่ ดังในเรื่อง Hard form efficient market hypothesis
6. ความรับผิดชอบทางศีลธรรมมาพร้อมกับความรู้ของ psychological tendency พวกนี้ด้วยใช่หรือไม่? - ใช่ ความรู้พวกนี้เพิ่ม persuasive power และมันใช้ในทางที่ดีหรือให้โทษก็ได้
The End
R.I.P Charlie Munger
Thank you for your remedial worldly wisdom